09/02/2021
ขั้นตอนการใช้สิทธิเมื่อคุณเกิดอุบัติเหต
เมื่อ เกิดขึ้นอุบัติเหตุ ใครหลายคนมักทำอะไรไม่ถูก นับหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาหรือใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมีคำแนะนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้

วิธีเรียกร้องค่าเสียหาย จากประกันภัยรถ
ขั้นที่ 1 การเรียกค่าสินไหม จาก พ.ร.บ.รถ (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535)
คุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น
1.ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ให้โรงพยาบาล ไม่เกิน 80,000 บาท และไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด (กรณีเป็นผู้โดยสาร)
2.ค่าชดเชยรายวัน จ่ายให้ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
3.ค่าปลงศพ / เสียชีวิต / ทุพพลภาพ จ่ายให้ทายาท 500,000 บาท
ข้อควรจำ !
ต้องยืนเอกสารเรียกค่าสินไหมภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกินเหตุ ให้ยืนเอกสารกับบริษัทประกันภัยที่รับทำ พ.ร.บ.รถ คันที่ผู้ประสบภัยโดยสารมา หากบริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายให้ยืนเรียกร้องคปภ.ส่วนกลาง หรือ คปภ.จังหวัด ทันที
ขั้นที่ 2 การเรียกค่าเสียหายกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันภัยชั้น 1,2,3)
ค่าเสียหายที่เรียกได้ คือ
1.ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินของ พ.ร.บ.รถ
2.ค่าทนทุกข์ทรมาน จากการบาดเจ็บ
3.ทรัพย์สินที่เสียหาย หรือสูญหายในขณะเกิดอุบัติเหตุ
4.ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง หรือทำงาน ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดรายได้ เป็นต้น
ข้อความอันตราย
จำไว้ว่า หากตกลงค่าสินไหมกันไม่ได้ อย่าเซ็นชื่อ ลงในเอกสารที่มีข้อความนี้อยู่ "ให้ท่านยินยอมรับเงินค่าเสียหายโดยไม่ติดใจเอาความกับบริษัทรถยนต์ เจ้าของบริษัทรถยนต์ บริษัทประกันภัย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ” เพราะจะทำให้ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมต่อศาลได้อีก