Chummer คลับของชาวโชห่วย

  • Home
  • Chummer คลับของชาวโชห่วย

Chummer คลับของชาวโชห่วย Chummer คลับของชาวโชห่วย
พื้นที่ของการสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการโชห่วย

การเปิดร้านขายของชำอย่างไรให้ขายดี   การปรับตัวของธุรกิจร้านค้าขายของชำ ณ ปัจจุบันปัจจุบันร้านค้าขายของชำหรือร้านโชว์ห่ว...
16/12/2023

การเปิดร้านขายของชำอย่างไรให้ขายดี
การปรับตัวของธุรกิจร้านค้าขายของชำ ณ ปัจจุบัน
ปัจจุบันร้านค้าขายของชำหรือร้านโชว์ห่วย ถือว่าเป็นธุรกิจในครอบครัว บ้านใดมีทุนสามารถเปิดร้านค้าของชำต่างๆ ในละแวกหมู่บ้านตามท้องถิ่น หรือละแวกตรอกซอกซอยในหมู่บ้าน ซึ่งมักจะเห็นกันเป็นภาพชินตา แต่การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น โลตัส เอ็กเพรส ร้าน 7/11 เป็นต้นซึ่งมีสินค้าอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคมากมาย แถมยังติดแอร์ มีพนักงานคอยต้อนรับแก่ลูกค้าผู้เข้ามาซื้อสินค้าอีกด้วย จึงส่งผลทำให้ร้านขายของชำบางร้านเจอผลกระทบจากการที่ไม่มีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า บางร้านต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และให้ทันแก่ความต้องการองลูกค้า เช่นการจัดหน้าร้าน การปรับปรุงสถานที่ในร้าน ให้ดูน่าเข้ามาซื้อ เลือกทำเลของร้าน หาสถานที่ที่เหมาะสม เช่นใกล้ๆแหล่งที่มีคนพลุกพล่าน ปรับเปลี่ยนชั้นวางของที่สามารถวางของให้ดูน่าซื้อมากยิ่งขึ้น การเลือกซื้อสินค้าที่จะนำเข้ามาขายที่ร้านต้องมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ไม่หมดอายุ และเหมาะกับชุมชนนั้นๆ จัดวางสินค้าให้เป็นหมวดๆ ติดป้ายราคาไว้ เพื่อความสะดวกในการเลือกของลูกค้า
สิ่งที่ร้านขายของชำควรต้องทำและให้ประสบผลสำเร็จ
เรื่องเงินลงทุนไว้ใช้สอยในร้าน การเงินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคํญในการค้าขาย ผู้ประกอบการควรมีเงินทุนสำรองไว้ใช้หมุนเวียนภายในร้านของตน ไม่ควรนำเงินออมทรัพย์ส่วนต่างๆของตนออกมาใช้ ควรแบ่งเงินส่วนตัวกับเงินในการบริหารร้านให้เป็นสัดส่วนโดยหาวิธีทำให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนภายในให้มากที่สุด เพื่อจะส่งเสริมและจัดซื้อสินค้าต่างๆ ให้ทันต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
การบริหารงานอย่างมีระบบ เช่น เจ้าของร้านควรปรับเปลี่ยนแนวคิดที่สามารถให้ธุรกิจของตนทันกับคู่แข่งปรับเปลี่ยนการขายค้าแบบเดิมที่รอลูกค้าเข้ามาซื้อ ควรมีทางเลือกในการเชิญชวนลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าเช่น การจัดโปรโมชั่น มีส่วนลด ปรับราคาสินค้าให้ถูกกว่าร้านอื่น
ผุ้ประกอบการร้านควรรู้ราคาของสินค้า จัดการการตลาดและแหล่งในการสั่งซื้อของที่จะนำมาขายภายในร้าน
การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำ จะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะเวลาที่ลูกค้าเข้ามาซื้อของ ลูกค้าจะมองสินค้าและคนภายในร้าน ว่าเป็นอย่างไร แล้วจะพากันบอกต่อๆกันไป ผู้ประกอบการควรพูดคุยกับลูกค้า เพื่อสร้างฐานลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีภาพจำที่ดีต่อร้านและเกิดความประทับใจในการเข้ามาซื้อของในร้าน
ความสะอาดของร้าน เป็นปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าจะรู้สึกได้ เมื่อเข้ามาซื้อสินค้าภายในร้าน ควรทำความสะอาดร้านและสินค้าอยู่เป็นประจำ
ควรติดกล้องวงจรปิดไว้ภายในร้าน เพราะจะทำให้ร้านของผู้ประกอบการดูน่าเกรงขาม สามารถป้องกันการขโมยสินค้าจากพวกมิจฉาชีพ
การตกแต่งร้านให้ดูสบายตา จัดวางสินค้าให้หาได้ง่าย ไม่ควรวางสินค้าให้กระจายไปทั่ว
ควรโชว์เอกสารในการจดทะเบียนพาณิชย์ของร้านให้ลูกค้าเห็น เพื่อเป็นการรับรองในการเปิดร้านอย่างถูกกฎหมาย และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้าได้อีกด้วย
ควรเช็คสินค้าที่หมดอายุ ไม่ควรนำมาขาย เพราะจะทำให้เสียเครดิตแก่ร้าน
การหาคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ร้านขายของชำที่เหมาะสม
ธุรกิจร้านขายของชำ ร้านโชว์ห่วย ผู้ประกอบการต้องทำการจัดการหาคู่ค้าและชัพพายเออร์ ในการจัดส่งสินค้าหรือแหล่งรับซื้้อสินค้าที่นำเข้าขายภายในร้านของตน เจ้าของร้านเองควรมีคู่ค้าที่แข็งแรงและน่าเชื่อถือ ที่จะสามารถเปิดร้านแบบมั่นใจ ควรหาร้านขายส่งและแหล่งสินค้าที่คุณสามารถซื้อได้ในราคาสมาชิก เพราะจะทำให้ต้นทุนของสินค้าที่จะนำมาขายลดลง ถ้ายิ่งมีชัพพายเออร์อยู่ใกล้บริเวณร้านขายของชำของคุณ ก็จะช่วยให้ประหยัดในการจัดส่ง ประหยัดค่าน้ำมันในการเดินทางไปรับของมาไว้ขาย เช่น ร้านแม็คโคร โลตัส บิ้กซี รวมไปถึงร้านขายส่งรายใหญ่ใกล้ๆ กับร้านขายของชำของผู้ประกอบการเอง

ขยายช่องทางการขายแบบออนไลน์ด้วย
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทช่วยให้การขายของออนไลน์ต่าง ๆ สะดวกขึ้น การนำเสนอหรือโฆษณาขายสินค้าตามช่องทางออนไลน์ เช่น ลงสินค้าขายไว้ในเฟสบุ้ค อินตราแกรม ไลน์ หรือในเว็บไซต์ขายของชำ จะทำให้ลูกค้าเข้าไปดูสินค้าต่างๆสามารถจะสั่งซื้อของทางออนไลน์ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินทางมายังร้านโชว์ห่วยเอง และควรส่งสินค้าให้ลูกค้าที่อยู่บริเวณใกล้ ๆร้านด้วย

การปรับราคาสินค้าให้โดนใจลูกค้า
ราคาของสินค้าในร้านขายของชำหรือร้านโชว์ห่วย มีสำคัญมิใช่น้อยต่อการตัดสินใจซื้อของตามร้านขายของชำหรือร้านขายของออนไลน์ ผุู้ประกอบการร้านค้าควรตั้งและปรับราคาของสินค้าให้มีความเหมาะสมกับต้นทุน อย่าขายให้ต่ำเกินไปเพราะทำให้ขาดทุน แพงเกินไปจะทำให้ลูกค้าไม่กล้าเข้ามาซื้อ คิดราคาเพิ่มจากต้นทุนของสินค้าเพียง 20% เป็นอย่างมากหรือน้อยกว่าแต่ไม่ควรต่ำกว่า 10% คุณต้องคิดรวมกับการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง เป็นต้น ควรปรับราคาสินค้าให้ใกล้กับร้านขายของชำบริเวณใกล้เคียงกันไม่ควรขายตัดราคันเอง ไท้ควรขายสอนค้าเกินไปกว่าสินค้าที่ป้านกำกับสินค้าไว้ ยกตัวอย่างเช่น เหล้า บุหรี่ เบียร์ เป็นต้น มีการจัดโปรโมชั่นส่วนลดสินค้าต่างๆให้แก่ลูกค้าทุกๆเดือน เมื่อลูกค้ารู้ว่าร้านนี้มีส่วนลดต่างๆก็จะทำการบอกต่อถือว่าเป็นการโฆษณาร้านไปในตัวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณคิดจะลงทุนในการเปิดร้านขายของชำหรือร้านโชว์ห่วยนั้น ผู้ประกอบการควรศึกษาเรื่องการลงทุน ความเสี่ยง ปัจจัยในด้านต่างๆให้ดีเสียก่อนจึงค่อนลงทุน เพราะถ้าหากคุณไม่มีความรู้ในด้านการเปิดร้านขายของชำเลย คุณก็ไม่สามารถที่เปิดร้านได้สำเร็จ มีกำไร ร่ำรวยได้ เพราะฉะนั้นคุณควรศึกษาให้รอบคอบก่อนจะลงทุน
cr.archeep108.com/

ขั้นตอนและเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้าร้านขายของชำเจ้าของธุรกิจร้านชำหลายเจ้าเริ่มนำเข้าสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศ เพื่...
15/12/2023

ขั้นตอนและเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้าร้านขายของชำ
เจ้าของธุรกิจร้านชำหลายเจ้าเริ่มนำเข้าสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศ เพื่อสร้างเอกลักษณ์และแตกต่างของร้าน แต่หากไม่ได้ทำขั้นตอนให้ถูกต้อง ก็อาจทำให้ต้นทุนสินค้าที่นำเข้ามาเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจไม่ได้ มาทำความเข้าใจขั้นตอนการนำเข้าสินค้าและเอกสารที่ต้องนำมาบันทึกบัญชีได้ในบทความนี้
ธุรกิจร้านขายของชำเป็นธุรกิจที่อยู่คู่กับชีวิตเรามาตั้งแต่จำความได้ จุดเด่นของธุรกิจร้านขายของชำ คือ มีสินค้าที่หลากหลาย บางร้านมีสินค้าตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ (โอย..เรือรบนี่ก็เกินเบอร์ไปหน่อย ฮ่าๆ) ซึ่งทำให้มัดใจลูกค้ามาจากรุ่นสู่รุ่น แม้ว่าในละแวกบ้านมีซูเปอร์มาร์เก็ตมาเปิดมากมาย แต่ถ้าร้านชำร้านไหนเลือกของเข้าร้านเก่งๆ มีสินค้าใหม่ๆ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ และแตกต่างจากท้องตลาดมากเท่าไร ร้านนั้นก็ยังครองใจลูกค้าได้อยู่ดี



แล้วเจ้าของร้านชำจะหาสินค้าแปลกๆ ใหม่ๆ มาจากไหน นี่เป็นอีกเรื่องที่เจ้าของร้านชำต้องทำการบ้านอย่างหนัก ด้วยลำพังการซื้อของจากในเมืองไทยมาขายให้คนไทยด้วยกันเองอาจจะไม่ดึงดูดลูกค้าอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น เจ้าของร้านชำหลายเจ้าก็อยากจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า เราจะเริ่มต้นนำเข้าสินค้ายังไงดีนะ



ในวันนี้ถ้าใครกำลังเจอปัญหานี้อยู่ เดี๋ยว FlowAccount จะพาไปแนะนำขั้นตอนการนำเข้าสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้องกันค่ะ
นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างไรให้ถูกต้อง


เจ้าของธุรกิจร้านชำหลายเจ้าเริ่มต้นนำเข้าสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศ แต่ว่าไม่ได้ทำขั้นตอนให้ถูกต้อง กลายเป็นว่าต้นทุนสินค้าที่นำเข้ามาเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจไม่ได้ จริงๆ แล้วการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างถูกต้องจะต้องมีขั้นตอน 5 ขั้นหลักๆ ตามนี้
1. เลือกสินค้า ผู้ค้า (Supplier) และทำใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ



2. เมื่อสินค้าถึงเมืองไทย ให้ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านพิธีศุลกากร ซึ่งต้องแจ้งรายละเอียด

ข้อมูลเรือเข้า
ใบตราส่งสินค้า
บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุกหรือผู้รับประกันภัยธนาคาร
ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นตามที่กฎหมายกำหนด


3. เมื่อศุลกากรตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วจะได้เลขที่ใบขนสินค้า เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลสินค้า พร้อมแจ้งเงื่อนไขชำระภาษีอากร ซึ่งใบขนขาเข้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
• ประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สินค้าประเภทนี้สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
• ประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สินค้าประเภทนี้ต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรสินค้าก่อน เพื่อให้กลายเป็นสินค้า Green Line จากนั้นจึงสามารถชำระภาษีอากร



4. ชำระภาษีอากรขาเข้า และวางประกันที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย



5. ยื่นใบขนสินค้าขาเข้ากับใบเสร็จรับเงินที่เราไปจ่ายค่าภาษีอากรที่คลังสินค้า ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อย ก็จะปล่อยสินค้าให้เราในที่สุด



ส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับเอกสารมากมาย และถ้าใครไม่ชำนาญพออาจจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากในที่สุด เลยเป็นที่มาที่ไปว่าร้านชำส่วนใหญ่มักจ้างบริการบริษัทขนส่งให้ดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆ ให้



แต่ๆๆ ช้าก่อน… แม้ว่าเราจะจ้างให้คนอื่นดำเนินการเรื่องการนำเข้าให้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะละเลยเรื่องเอกสารได้นะ เพราะว่าเอกสารการนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนธุรกิจที่เราควรเก็บไปบันทึกบัญชีให้เรียบร้อย เพื่อที่ว่าเราจะได้วางแผนการตั้งราคาสินค้าได้ และที่สำคัญ ใครๆ ก็อยากให้เอกสารเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจริงไหมคะ



การนำเข้าสินค้ามีเอกสารอะไรบ้าง


FlowAccount จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเอกสารแต่ละใบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้ากันว่ามีอะไรบ้าง และสำคัญกับเราอย่างไร

ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration) คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายละเอียดต่อกรมศุลกากรเพื่อการชำระภาษีอากร ซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่นำเข้า
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ B/L-Bill of Lading หรือทางอากาศ Airway Bills เป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้า และเป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทขนส่งที่จะขนส่งสินค้าทางเรือหรือเครื่องบินจากประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง เอกสารใบนี้มีความสำคัญมากๆ ทางบัญชี เพราะจะช่วยให้นักบัญชีบันทึกรับรู้กรรมสิทธิ์และภาระจากสินค้าได้อย่างถูกต้อง
บัญชีราคาสินค้า (Invoice หรือ Commercial Invoice) เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น รายละเอียดของสินค้า จํานวน นํ้าหนัก ราคา
บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) คือ เป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของที่บรรจุในแต่ละหีบห่อสินค้า รายการในบัญชีบรรจุหีบห่อจะทำให้มีความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้า
ใบอนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (Import License)
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificates of Origin) ใช้ในกรณีขอลดอัตราอากรขาเข้า


บันทึกรับสินค้าเข้าอย่างไร


แน่นอนว่าพอเราได้รับสินค้าสู่อ้อมอกแล้ว สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ การตรวจนับสินค้าและรับสินค้าเข้าในระบบ โปรแกรมบัญชี Flowaccount ช่วยให้เจ้าของร้านชำบันทึกรับสินค้าด้วยเมนูเอกสารซื้อ > ใบรับสินค้า
ข้อดีของการบันทึกรับสินค้าด้วย Flowaccount คือ เราจะรู้จำนวนสินค้าเข้าคลังทันที และสามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าสินค้าเหล่านี้มีจำนวนและมูลค่าเท่าไรบ้าง จากนั้นก็วางแผนขายสินค้าเหล่านี้ได้เลย นอกจากนี้สำหรับการจ่ายชำระเงินเราก็สามารถเช็กได้เช่นกันว่ามีการรับสินค้าใดที่ยังไม่ได้จ่ายชำระเงินบ้าง ทำให้เราบริหารเงินธุรกิจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น



วิธีการบันทึกรับสินค้าทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัญชีราคาสินค้า (Invoice หรือ Commercial Invoice) และเราสามารถกรอกรายละเอียดสินค้าที่นำเข้ามาได้ทั้งจำนวนเงินและปริมาณในเมนูนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายการนำเข้าอื่น สามารถบันทึกในเมนูค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

โดยสรุปแล้ว ธุรกิจร้านชำเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของสินค้าที่หลากหลาย ทำให้เจ้าของธุรกิจเองต้องทำความเข้าใจวิธีการสั่งซื้อสินค้า การนำเข้ามาอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้มีสินค้าเต็มชั้นให้ลูกค้าเลือกสรรอย่างจุใจ และที่สำคัญ ถ้าใครเก็บเอกสารเรียบร้อย บันทึกสินค้าเข้าอย่างเป็นระบบ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจมองเห็นกำไรและแข่งขันกับซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ๆ ได้แบบไม่ต้องกลัวเลยค่ะ

หน้าร้านจริงๆ กับ หน้าร้านออนไลน์ เลือกแบบไหนดี ?ด้วยความนิยมและการเติบโตที่มากขึ้นของการช็อปปิ้งออนไลน์ ทำให้มีผู้คนคิด...
14/12/2023

หน้าร้านจริงๆ กับ หน้าร้านออนไลน์ เลือกแบบไหนดี ?
ด้วยความนิยมและการเติบโตที่มากขึ้นของการช็อปปิ้งออนไลน์ ทำให้มีผู้คนคิดว่าการเปิดหน้าร้านจริงๆขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่เอาเข้าจริงๆแล้วการมีหน้าร้านก็ยังจำเป็นอยู่เช่นเคย หากเจ้านายต้องการที่จะเปิดร้านค้า เจ้านายควรคำนึงถึง สินค้าหรือบริการ กลุ่มลูกค้า และภาพรวมของธุรกิจ เพื่อที่จะตัดสินใจว่า หน้าร้านประเภทใดนั้นจะดีต่อธุรกิจของเจ้านาย

1). การเปิดหน้าร้านออนไลน์นั้นใช้เงินน้อยกว่ามากๆ
โดยทั่วไปแล้ว การเริ่มต้นธุรกิจด้วยหน้าร้านออนไลน์นั้นถูกกว่าการสร้างหน้าร้านขึ้นมาจริงๆ เพราะ ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องตกแต่งร้านให้สวยงาม ไม่ต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ และอื่นๆอีกมาก ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากเจ้านายยังสามารถจัดการหน้าร้านออนไลน์ด้วยตนเองได้ เจ้านายก็ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานอีกด้วย

ด้วยการทำหน้าร้านออนไลน์ ต้นทุนของเจ้านายนั้นขึ้นอยู่กับ เว็บไซต์ ค่าขนส่ง และค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินออนไลน์บางประเภท เจ้านายจะต้องจ่ายเงินสำหรับชื่อโดเมนเว็บไซต์ที่เจ้านายต้องการ หรือ จ้างใครสักคนเพื่อสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ หรือ สร้าง E-commerce แพล็ตฟอร์ม ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็ยังถูกกว่าการเปิดหน้าร้านจริงๆอยู่ดี

2). เมื่อลูกค้าอยากที่จะเห็นสินค้าจริง
สำหรับสินค้าที่มีราคาแพง อย่างเช่น เสื้อผ้าแบรนด์เนม ของหายาก เพชรพลอย เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ การมีหน้าร้านดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะ เมื่อลูกค้าต้องการจะซื้อสินค้าที่มีราคาแพง การได้เห็นของจริงตรงหน้าจะให้ความรู้สึกที่ดีกว่า มั่นใจกว่า อีกทั้งสินค้าเหล่านี้มีกำไรต่อชิ้นค่อนข้างสูง การมีหน้าร้านจริงๆจึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่า

นอกจากการตั้งราคาสินค้าแล้ว เจ้านายควรคำนึงถึงจำนวนสินค้าและประเภทสินค้าที่เจ้านายต้องการจะขาย หน้าร้านจริงๆจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าหากเป็นการขายสินค้าที่มีการกำหนดจำนวนและประเภทของสินค้าที่ต้องการขายไว้แล้ว ในขณะที่ร้านค้าออนไลน์สามารถขายสินค้าได้หลากหลายและจำนวนมากกว่า

3). มุมมองการแข่งขัน
หากเจ้านายต้องการจะเปิดธุรกิจ เจ้านายควรตรวจสอบการแข่งขันก่อนที่จะกระโดดเข้าสู่ธุรกิจ สำหรับธุรกิจออนไลน์นั้น การแข่งขันนั้นสูงกว่าหน้าร้านจริงๆพอสมควร เมื่อเจ้านายต้องการที่จะเปิดหน้าร้าน เจ้านายสามารถสำรวจพื้นที่และดูว่าร้านอื่นๆในพื้นที่นั้นขายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเจ้านายหรือไม่ หรือ เลือกที่จะไปเปิดร้านในที่ที่ยังไม่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเจ้านาย

แต่สำหรับหน้าร้านออนไลน์นั้นการแข่งขันสูงกว่ามาก โดยปกติแล้วก็จะมีธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการใกล้เคียงกับเจ้านายอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้ามาสู่ธุรกิจออนไลน์นั้นค่อนข้างยากสำหรับรายใหม่ๆที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจออนไลน์ และถ้าหากไม่มีทีมงานที่มีความสามารถและขาดความเข้าใจในด้านนี้ก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก

4). ใช้การตลาดเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน

การสร้างฐานลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นหน้าร้านจริงๆ หรือ หน้าร้านออนไลน์ สำหรับหน้าร้านจริงๆนั้นจำนวนฐานลูกค้าจะถูกจำกัดบริเวณอยู่ที่พื้นที่รอบๆ แต่ฐานลูกค้าสำหรับร้านค้าออนไลน์นั้นกว้างขวางกว่ามาก

เมื่อเจ้านายเปิดหน้าร้านจริงๆขึ้นมา การจะดึงดูดลูกค้าใหม่ๆนั้นถูกจำกัด ขอบเขตธุรกิจของเจ้านายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของหน้าร้านจริงๆ การโปรโมทอาจจะทำได้ในพื้นที่จำกัด เช่น ใบปลิว ป้ายร้าน และ อื่นๆ ซึ่งต้นทุนการตลาดเหล่านี้อาจมีราคาแพง และ ใช้เวลามากกว่า

แต่เมื่อเจ้านายเปิดร้านค้าออนไลน์ การทำการตลาดนั้นสามารถเข้าถึงคนในวงกว้าง รวมทั้งคนต่างประเทศ การออกโปรโมชั่น หรือ การแจ้งข่าวสารจะทำได้รวดเร็วกว่ามาก อีกทั้งยังสามารถเพิ่มหรือลดสินค้าที่ต้องการขายได้ทันที ซึ่งต้นทุนเหล่านี้อาจจะถูกกว่าการทำการตลาดบนหน้าร้านจริงๆ และ ยังมีประสิทธิภาพมากกว่าอีกด้วย

cr.puppyvisor.com/marketing/retail-store-or-online-store/

ร้านขายของชำ วางระบบดี อาชีพนี้ ก้าวไปอย่างรุ่งโรจน์แน่อาชีพที่ทำแล้วสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวให้มีชิวิตอยู่อย่างสุขสบายไ...
14/12/2023

ร้านขายของชำ วางระบบดี อาชีพนี้ ก้าวไปอย่างรุ่งโรจน์แน่
อาชีพที่ทำแล้วสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวให้มีชิวิตอยู่อย่างสุขสบายได้ หนีไม่พ้นอาชีพค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเปิดร้านอาหาร เปิดร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องสำอางค์ หรือ แม้แต่ร้านขายของชำ ที่ปัจจุบันมีคู่แข่งอันดับหนึ่งเข้ามาอย่างร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงก็ตาม ทำให้ร้านขายของชำที่เคยเปิดอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อน ซบเซาลงไปมาก แต่รู้หรือไม่หากเราจัดการระบบการบริหารงานให้ดี พัฒนาสินค้า บริการเป็นมิตร รับรองว่าไปได้รอดแน่นอน

แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น จะมีวีทำอย่างไรให้ร้านขายของชำไปได้รุ่งอย่างมั่นคง ก่อนอื่นเราควรมาศึกษาเรื่อง การจัดการร้านขายของชำอย่างละเอียดกันก่อนว่าจะมีวิธีการทำอย่างไรให้ร้านขายของชำไปได้สวยอย่างรุ่งโรจน์ไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ

เทคนิคจัดการพื้นที่ แผนผังภายในร้านขายของชำ อย่างไร้ที่ติ
การจัดเรียงสินค้า ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายของลูกค้า ต้องจัดในหมวดหมู่เดียวกัน เช่นหมวดหมู่ของกิน ของทานเล่น หมวดของใช้ หมวดอุปกรณ์ อะไรที่ต้องใช้ด้วยกันก็วางใกล้กัน และควรจัดผังร้านให้เหมาะสมเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน ความสะดวกสบายให้ลูกค้าเลือกซื้อค้า เพิ่มโอกาสการขายให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงวิธีการต่อไปนี้
1.จัดทางเดินระหว่างชั้นที่ประมาณ 60-90 ซม. ความกว้างระหว่างตู้แช่กับชั้นวาง 90-20 ซม.
2.จัดชั้นกลางร้านสูงไม่เกิน 150 ซม. ชั้นวางริมผนังสูง 180 ซม.
3.จัดหมวดหมู่ของสินค้าแต่ละประเภทออกจากกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเดินเลือกสินค้าได้ถูก
4.ตำแหน่งการจัดวางตู้แช่ของควรอยู่ด้านหลังร้าน มองเห็นสินค้าได้ชัด
5.ตำแหน่งแคชเชียร์ ควรอยู่บริเวณที่มองเห็นได้ทั่วร้าน และควรมีทางเข้าออก

สินค้าภายในร้านขายของชำต้องครบครัน
สินค้าในร้านขายของชำสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก 1.สินค้าบริโภค ได้แก่ เครื่องประกอบดอาหาร เครื่องปรุงรส เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว 2. สินค้าอุปโภค ได้แก่สินค้าค้ากลุ่มความงาน ของใช้ส่วนตัว ผลิตภัณฑ์ซักล้างต่าง ๆ 3.ของใช้ภายในบ้าน ได้แก่ เครื่องเขียน เครื่องใช้พลาสติก บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ต้องเป็นสินค้าที่สดใหม่ อายุการใช้งานนานนับปี มีสินค้าใหม่ ๆ ลงขายอย่างสม่ำเสมอ หรือจะลองติดตามกระแสสินค้าดังที่ขายดีอยู่ ลองนำมาขายบ้างก็ดีไม่น้อย เพื่อเป็นการทำให้ร้านขายของชำมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เป็นการเรียกลูกค้าเข้าร้านได้อีกทาง

ธุรกิจเสริมหน้าร้านขายของชำที่ช่วยส่งเสริมการขายได้อย่างดี
หากจัดการพื้นที่หน้าร้านขายของชำดี ๆ จะพบว่าเราสามารถเสริมธุรกิจเล็ก ๆ ได้ หรือจะปล่อยให้เป็นพื้นที่เช่าหน้าร้านในการเปิดร้านกาแฟสด ร้านน้ำผลไม้ปั่น ร้านเครปญี่ปุ่น หรือจะตั้งเป็นบริการตู้น้ำหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เครื่องชงกาแฟหยอดเหรียญ เสริมขึ้นมาเพื่อให้หน้าร้านขายของชำดูครึกครื้น มีชีวิตชีวา ผู้คนเดินผ่านไปมามากมายสามารถแวะซื้อของทานเล่นได้ทันทีไม่ต้องไปที่อื่น เป็นการเพิ่มยอดขายให้กับทางร้านได้อีกทาง
สายสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นที่หน้าร้านขายของชำเสมอ
มิตรไมตรีที่ดีมักเกิดขึ้นบริเวณหน้าร้านขายของชำเสมอ เพราะบริเวณหน้าร้านส่วนใหญ่มักจะตั้งม้าหินสำหรับการนั่งพักผ่อนนั่งทานหรือดื่มเครื่องดื่ม ที่ซื้อจากร้านขายของชำ นั่งพูดคุยกันเกิดมิตรไมตรีที่ดี สานสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า ๆ และได้มีเพื่อนใหม่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ซึ่งสัมพันธ์ที่ดีแบบนี้หาไม่ได้จากร้านสะดวกซื้อเลยหล่ะ
เพียงจัดการระบบภายในร้าน การจัดเรียงสินค้า การบริหารงาน การอำนวยความสะดวกเรื่องสินค้าที่ครบครันมีรองรับให้กับลูกค้าเสมอ การบริการที่เป็นมิตรไมตรี การพูดคุยกับลูกค้าเสมือนเป็นญาติคนสนิท และพัฒนาการขายของเราให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ ร้านขายของชำก็สามารถทำเป็นอาชีพเสริมให้กับอีกหลายครอบครัวได้อย่างแน่นอน

มองการปรับตัวของ ‘ร้านโชห่วย’ อยู่ให้รอดในวิกฤตโควิด-19เมื่อเอ่ยถึง ‘โชห่วย’ แน่นอนว่าทุกคนย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพรา...
12/12/2023

มองการปรับตัวของ ‘ร้านโชห่วย’ อยู่ให้รอดในวิกฤตโควิด-19
เมื่อเอ่ยถึง ‘โชห่วย’ แน่นอนว่าทุกคนย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนี่คือธุรกิจค้าปลีกรายย่อยที่เป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่วันนี้ด้วยการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อ ที่ขยายเข้าไปสู่ตรอก ซอย และพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดคำถามหนึ่งตามมาคือ ร้านโชห่วยในปี 2020 ยังอยู่ได้ไหม
“ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่เข้ามา เราพบว่าปัญหาหลักๆ ของธุรกิจประเภทนี้หนีไม่พ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ขาดคนรุ่นใหม่สืบทอดกิจการ ขาดความรู้ในการจัดการร้านค้าปลีก” วีระชัย ตู้วชิรกุล ผู้จัดการอาวุโส แม็คโคร 4.0 บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้รับผิดชอบดูแลโครงการมิตรแท้โชห่วย ซึ่งมีประสบการณ์ออกเยี่ยม พูดคุยกับร้านค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 ร้านค้า ได้เล่าถึงสถานการณ์ของร้านโชห่วยบนเวทีเสวนา ‘ยุทธศาสตร์ค้าปลีกวิถีใหม่ ฝ่าโควิด-1’ ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
วงจรชีวิตของโชห่วย ตั้งแต่เริ่มเติบโต ประสบความสำเร็จหรือกำลังจะตาย วีระชัย ยอมรับว่าพบเจอมาแล้วทุกรูปแบบ ปัจจุบันข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุจำนวนร้านโชห่วยในประเทศไทยปัจจุบันมี 500,000 ร้านค้า
จากประสบการณ์ของวีระชัย คนมักเข้าใจ ‘โชห่วย’ ผิด ธุรกิจนี้เป็นเหมือนพีระมิด มีกลุ่มฐานล่างสุด กลุ่มตรงกลาง และด้านบน ในกลุ่มโชห่วยฐานล่างสุดนั้นสร้างรายได้ต่อวันหลักพันถึงหลักหมื่น สูงสุดที่เคยเจอ (ไม่รวมค้าส่งที่บางรายทำอยู่) มีรายได้วันละ 30,000-40,000 บาท เท่ากับว่าเขามียอดขายต่อเดือนประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งกำไรในธุรกิจโชห่วยคือ 15% ถ้ามิกซ์มาร์จิ้น หรือผสมผสานสินค้าที่ทำกำไรได้ดี กำไรสามารถไปได้ถึง 20%
“เวลาเจอปัญหาจากการทำธุรกิจโชห่วย ก็เหมือนกับการเดินทางไปเจอสี่แยก คุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เดินหน้า หรือถอยหลัง ทุกอย่างขึ้นกับการปรับตัวของคุณ!”
หลายคนมองว่าธุรกิจโชห่วยเป็นธุรกิจทางเลือก แต่จริงๆ แล้วก็เป็นธุรกิจทางรอด ที่อยู่รอดและอยู่รวยได้เช่นกัน ในยุคที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง โชห่วยหรือร้านค้าปลีกรายย่อยต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าคุ้นชินกับดิจิทัลสแกน อีเพย์เมนต์ สมาร์ทโฟน ต้องยอมรับว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำให้คนพยายามใช้ดิจิทัล พอช่วงโควิด-19 ทุกคนปรับตัวใช้อีเพย์เมนต์ หรือเกือบ 100% ของคนในชุมชนใช้สมาร์ทโฟนหมดแล้ว โชห่วยจึงต้องปรับตัวรองรับ ลูกค้าไม่ได้มีเงินสดแค่ในกระเป๋า แต่มีอยู่ในมือถือ วิธีการเพิ่มรายได้ให้ร้านก็คือ เปิดช่องทางการรับเงินที่มาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกิดกระแสทำอาหารกินเองในครอบครัวมากขึ้น แม็คโครเห็นเทรนด์นี้ชัดเจน จึงส่งเสริมให้โชห่วยปรับพื้นที่ขายสินค้าแช่แข็งผ่าน ‘ครัวชุมชน’ ซึ่งบริการสินค้าเนื้อสัตว์แช่แข็งขนาดแพ็กประมาณสองขีด หรือ 200 กรัม ตอบโจทย์ความต้องการ นอกจากมีกำไรสูงแล้ว ยังทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้โชห่วยกลายเป็นร้านในดวงใจ



โชห่วยยังต้องใส่ใจในสุขภาพความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า ด้วยการเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มองหาสินค้าใหม่ให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ที่เกิดขึ้น จากเดิมขายน้ำตาล น้ำปลา ขนม ก็มาเป็นสินค้าเกี่ยวกับความสะอาด ยารักษาโรค ต้องผสมผสานสินค้าให้เหมาะสม จะช่วยเพิ่มกำไรได้



“การจัดการสต๊อกสินค้าก็เป็นหัวใจที่โชห่วยต้องนึกถึงและใส่ใจเสมอ ไม่น่าเชื่อว่าสต๊อกสินค้ากลายเป็นปัญหายอดฮิตที่เราพบ ต่อให้สินค้าดี แต่จัดเก็บไม่ดี ก็ทำให้สินค้าล้นอยู่หลังร้าน บางครั้งไม่รู้ว่าหมดอายุ จึงแนะนำให้จัดเก็บสต๊อกให้น้อยที่สุด มีหลายร้านที่เราเข้าไปช่วยพัฒนา พบสินค้าหลังร้านหมดอายุเป็นจำนวนมาก หากคิดเป็นตัวเงิน มูลค่าเป็นหมื่นก็เคยเจอ ที่สำคัญต้องทิ้งทั้งหมด ซึ่งนั่นคือเงิน คือต้นทุนของคุณ”



อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมคนหันมาสนใจติดตามข่าวสารโซเชียลมีเดียมากขึ้น คนในชุมชนติดตามใกล้ชิดเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็คือ โชห่วยมีเฟซบุ๊กเพจ มีไลน์ออฟฟิเชียล เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับลูกค้าในชุมชน สร้างสรรค์ทางเลือกในการสร้างรายได้แบบใหม่

“โชห่วยไทยผมว่าเขาปรับตัวได้นะ เริ่มจากอะไรที่ง่าย ใช้ได้เร็ว เชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่มาพัฒนาร้าน อย่างบริการเดลิเวอรี บริการสั่งสินค้า อัปเดตสินค้าใหม่ๆ ผ่านไลน์ เฟซบุ๊ก โชห่วยต้องเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชุมชน เชื่อมโยงการขนส่งในชุมชน ใช้เทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ธุรกิจให้เกิดความเข้มแข็ง โดยลงทุนให้น้อยที่สุด”

วีระชัยย้ำว่า โชห่วยต้องรู้จักลูกค้าในชุมชน และปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าให้เท่าทัน เช่นเดียวกับยุคนี้ที่การมีอาหารพร้อมทาน (Ready to eat) หรือวัตถุดิบแช่แข็งไว้รองรับกระแสคนซื้อของใกล้บ้าน คงจะเป็นกระแสแบบนี้ไปอีกนาน และเพิ่มโอกาสให้โชห่วยมีทางเลือกขายสินค้าใหม่ๆ ผ่านครัวชุมชน โดยล่าสุดนั้นทางแม็คโครได้เปิดบริการไลน์แอปพลิเคชัน เป็นช่องทางให้คำปรึกษา เสริมความเข้มข้นจากเดิมที่มีพร้อมสรรพใน www.โชห่http://xn--o3cvbr0m.com/ อีกด้วย มองการปรับตัวของ ‘ร้านโชห่วย’ อยู่ให้รอดในวิกฤตโควิด-19
เมื่อเอ่ยถึง ‘โชห่วย’ แน่นอนว่าทุกคนย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนี่คือธุรกิจค้าปลีกรายย่อยที่เป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่วันนี้ด้วยการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อ ที่ขยายเข้าไปสู่ตรอก ซอย และพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดคำถามหนึ่งตามมาคือ ร้านโชห่วยในปี 2020 ยังอยู่ได้ไหม
“ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่เข้ามา เราพบว่าปัญหาหลักๆ ของธุรกิจประเภทนี้หนีไม่พ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ขาดคนรุ่นใหม่สืบทอดกิจการ ขาดความรู้ในการจัดการร้านค้าปลีก” วีระชัย ตู้วชิรกุล ผู้จัดการอาวุโส แม็คโคร 4.0 บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้รับผิดชอบดูแลโครงการมิตรแท้โชห่วย ซึ่งมีประสบการณ์ออกเยี่ยม พูดคุยกับร้านค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 ร้านค้า ได้เล่าถึงสถานการณ์ของร้านโชห่วยบนเวทีเสวนา ‘ยุทธศาสตร์ค้าปลีกวิถีใหม่ ฝ่าโควิด-1’ ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
วงจรชีวิตของโชห่วย ตั้งแต่เริ่มเติบโต ประสบความสำเร็จหรือกำลังจะตาย วีระชัย ยอมรับว่าพบเจอมาแล้วทุกรูปแบบ ปัจจุบันข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุจำนวนร้านโชห่วยในประเทศไทยปัจจุบันมี 500,000 ร้านค้า
จากประสบการณ์ของวีระชัย คนมักเข้าใจ ‘โชห่วย’ ผิด ธุรกิจนี้เป็นเหมือนพีระมิด มีกลุ่มฐานล่างสุด กลุ่มตรงกลาง และด้านบน ในกลุ่มโชห่วยฐานล่างสุดนั้นสร้างรายได้ต่อวันหลักพันถึงหลักหมื่น สูงสุดที่เคยเจอ (ไม่รวมค้าส่งที่บางรายทำอยู่) มีรายได้วันละ 30,000-40,000 บาท เท่ากับว่าเขามียอดขายต่อเดือนประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งกำไรในธุรกิจโชห่วยคือ 15% ถ้ามิกซ์มาร์จิ้น หรือผสมผสานสินค้าที่ทำกำไรได้ดี กำไรสามารถไปได้ถึง 20%
“เวลาเจอปัญหาจากการทำธุรกิจโชห่วย ก็เหมือนกับการเดินทางไปเจอสี่แยก คุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เดินหน้า หรือถอยหลัง ทุกอย่างขึ้นกับการปรับตัวของคุณ!”
หลายคนมองว่าธุรกิจโชห่วยเป็นธุรกิจทางเลือก แต่จริงๆ แล้วก็เป็นธุรกิจทางรอด ที่อยู่รอดและอยู่รวยได้เช่นกัน ในยุคที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง โชห่วยหรือร้านค้าปลีกรายย่อยต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าคุ้นชินกับดิจิทัลสแกน อีเพย์เมนต์ สมาร์ทโฟน ต้องยอมรับว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำให้คนพยายามใช้ดิจิทัล พอช่วงโควิด-19 ทุกคนปรับตัวใช้อีเพย์เมนต์ หรือเกือบ 100% ของคนในชุมชนใช้สมาร์ทโฟนหมดแล้ว โชห่วยจึงต้องปรับตัวรองรับ ลูกค้าไม่ได้มีเงินสดแค่ในกระเป๋า แต่มีอยู่ในมือถือ วิธีการเพิ่มรายได้ให้ร้านก็คือ เปิดช่องทางการรับเงินที่มาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกิดกระแสทำอาหารกินเองในครอบครัวมากขึ้น แม็คโครเห็นเทรนด์นี้ชัดเจน จึงส่งเสริมให้โชห่วยปรับพื้นที่ขายสินค้าแช่แข็งผ่าน ‘ครัวชุมชน’ ซึ่งบริการสินค้าเนื้อสัตว์แช่แข็งขนาดแพ็กประมาณสองขีด หรือ 200 กรัม ตอบโจทย์ความต้องการ นอกจากมีกำไรสูงแล้ว ยังทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้โชห่วยกลายเป็นร้านในดวงใจ



โชห่วยยังต้องใส่ใจในสุขภาพความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า ด้วยการเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มองหาสินค้าใหม่ให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ที่เกิดขึ้น จากเดิมขายน้ำตาล น้ำปลา ขนม ก็มาเป็นสินค้าเกี่ยวกับความสะอาด ยารักษาโรค ต้องผสมผสานสินค้าให้เหมาะสม จะช่วยเพิ่มกำไรได้



“การจัดการสต๊อกสินค้าก็เป็นหัวใจที่โชห่วยต้องนึกถึงและใส่ใจเสมอ ไม่น่าเชื่อว่าสต๊อกสินค้ากลายเป็นปัญหายอดฮิตที่เราพบ ต่อให้สินค้าดี แต่จัดเก็บไม่ดี ก็ทำให้สินค้าล้นอยู่หลังร้าน บางครั้งไม่รู้ว่าหมดอายุ จึงแนะนำให้จัดเก็บสต๊อกให้น้อยที่สุด มีหลายร้านที่เราเข้าไปช่วยพัฒนา พบสินค้าหลังร้านหมดอายุเป็นจำนวนมาก หากคิดเป็นตัวเงิน มูลค่าเป็นหมื่นก็เคยเจอ ที่สำคัญต้องทิ้งทั้งหมด ซึ่งนั่นคือเงิน คือต้นทุนของคุณ”



อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมคนหันมาสนใจติดตามข่าวสารโซเชียลมีเดียมากขึ้น คนในชุมชนติดตามใกล้ชิดเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็คือ โชห่วยมีเฟซบุ๊กเพจ มีไลน์ออฟฟิเชียล เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับลูกค้าในชุมชน สร้างสรรค์ทางเลือกในการสร้างรายได้แบบใหม่

“โชห่วยไทยผมว่าเขาปรับตัวได้นะ เริ่มจากอะไรที่ง่าย ใช้ได้เร็ว เชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่มาพัฒนาร้าน อย่างบริการเดลิเวอรี บริการสั่งสินค้า อัปเดตสินค้าใหม่ๆ ผ่านไลน์ เฟซบุ๊ก โชห่วยต้องเป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชุมชน เชื่อมโยงการขนส่งในชุมชน ใช้เทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ธุรกิจให้เกิดความเข้มแข็ง โดยลงทุนให้น้อยที่สุด”

วีระชัยย้ำว่า โชห่วยต้องรู้จักลูกค้าในชุมชน และปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าให้เท่าทัน เช่นเดียวกับยุคนี้ที่การมีอาหารพร้อมทาน (Ready to eat) หรือวัตถุดิบแช่แข็งไว้รองรับกระแสคนซื้อของใกล้บ้าน คงจะเป็นกระแสแบบนี้ไปอีกนาน และเพิ่มโอกาสให้โชห่วยมีทางเลือกขายสินค้าใหม่ๆ ผ่านครัวชุมชน โดยล่าสุดนั้นทางแม็คโครได้เปิดบริการไลน์แอปพลิเคชัน เป็นช่องทางให้คำปรึกษา เสริมความเข้มข้นจากเดิมที่มีพร้อมสรรพใน www.โชห่http://xn--o3cvbr0m.com/ อีกด้วย

เจอแบบนี้ ให้สอบถามไปยังหน่วยงานที่ถูกแอปอ้างโดยตรง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และหากไม่แน่ใจ ไม่รู้จริงหรือปลอม ไม่คล...
11/12/2023

เจอแบบนี้ ให้สอบถามไปยังหน่วยงานที่ถูกแอปอ้างโดยตรง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และหากไม่แน่ใจ ไม่รู้จริงหรือปลอม ไม่คลิก ไม่โหลด ปลอดภัยไว้ก่อน

🎉คลับคนโชว์ห่วยขอสวัสดีปีใหม่🎉🥳ชาวเพจทุกๆท่าน🥳
11/12/2023

🎉คลับคนโชว์ห่วยขอสวัสดีปีใหม่🎉
🥳ชาวเพจทุกๆท่าน🥳

ร้านโชห่วย ปรับตัวอย่างไรให้รอด!การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และอื่นๆ ตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งผ...
09/12/2023

ร้านโชห่วย ปรับตัวอย่างไรให้รอด!
การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และอื่นๆ ตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อร้านขายของชำ หรือ “โชห่วย” ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย มักจะล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค การบริหารจัดการร้านค้าไม่เป็น จึงทำให้ร้านโชห่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถต่อกรกับร้านสะดวกซื้อได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับร้านโชห่วย จึงเป็นที่มาของการตั้งกระทู้ขึ้นในเว็บไซต์พันทิป “ ร้านโชห่วย (ร้านขายของชำ) ในยุคนี้ทำยังไงถึงจะไปรอดคะ? ” วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านโชห่วยรายหนึ่งมานำเสนอให้ผู้ประกอบการร้านโชห่วยที่กำลังได้รับผลกระทบจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ทราบ ว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรให้รอด!

หลายคนมองว่าเมื่อร้านสะดวกซื้อเข้ามาถึงหมู่บ้าน ร้านโชห่วยจะอยู่ลำบาก หลายร้านสู้ไม่ไหวต้องยอมปิดกิจการ แต่ไม่ใช่ทุกร้านอย่างแน่นอน หากผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนบรรยากาศร้านค้าให้ดึงดูดลูกค้า สะอาด มีไฟส่องสว่าง ไม่มีกลิ่นอับ การจัดวางสินค้าให้ดึงดูด และหาของที่ไม่มีขายใน 7-Eleven มาขาย

ขณะเดียวกัน อาจจะต้องปรับเปลี่ยน Location ปลูกต้นไม้มงคล เพื่อคลายความร้อนเพิ่มความเป็นสิริมงคล ซึ่งการปลูกต้นไม้ต้องปลูกระหว่างทางเดิน (หากร้านใครมีร้านที่ไม่ติดถนน) เพื่อสร้างร่มเงาและดึงดูดให้คนเข้าร้านค้า
ต่อมาปรับในเรื่องชั้นขายของให้แข็งแรง สามารถวางสินค้าได้จำนวนมาก ชั้นวางของต้องแข็งแรง จากนั้นต้องหาสินค้าเข้ามาเพิ่ม หลากหลาย ตอบโจทย์คนในชุมชน เลือกเฉพาะสินค้าใหม่ๆ มาขาย รวมถึงต้องเช็คสินค้าตลอดเพื่อไม่ให้หมดอายุ

สำหรับผู้ประกอบการที่มองว่าร้านสะดวกซื้อต่างๆ เป็นคู่แข่งนั้น ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยการมองว่าเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงร้านค้าให้ถูกใจและดึงดูดลูกค้า ผู้ประกอบการจะต้องเดินเข้าไปสำรวจในร้านเหล่านั้นว่าขายอะไร ไม่ขายอะไร เพื่อจะได้มองเห็นช่องว่าง และโอกาสในการขายของ เช่น ร้านสะดวกซื้อไม่ได้ขายแก๊ส ไม่ขายเตาถ่าน ไม่ขายถ่าน หรือไม้กวาด
ร้านสะดวกซื้อจะขายเฉพาะสินค้าที่ขายดีเท่านั้น หรือสินค้าสมัยใหม่ สะดวกกิน สะดวกใช้ แต่ผู้ประกอบการจะต้องทำให้ร้านโชห่วยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชน หาสินค้าที่เข้ากับชีวิตชุมชนมาขายเสริม เช่น ขนมใบไม้ ขนมผิง ขนมโก๋ และของกินอื่นๆ รวมถึงของสดต่างๆ ทั้งปลา หมู ผัก ก็ติดต่อมาขาย ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มรวมถึงเด็กๆ ขายไม่แพง

นอกจากนั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีโต๊ะสำหรับขายล็อตเตอรี่ รับจ่ายบิลต่างๆ เติมเงินโทรศัพท์ รับซื้อรางวัลเลขท้าย หรือเพิ่มอีกโซนในร้านให้เป็นร้านขายยา เพราะหากจะแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อจริงๆ ต้องมีจุดขายมากกว่านี้

โดยเฉพาะการเข้าร่วมกับโครงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการร้านติดดาว หรือติดต่อหาโค้กเพิ่มตู้แช่ โต๊ะนั่ง รวมถึงการส่งร้านโชห่วยสมัครเข้าโครงการของแม็คโคร เพื่อขอรับเงินทุนมาพัฒนากิจการของร้านให้ดีขึ้นต่อไปอีก เป็นต้น
ผู้ประกอบการอาจต้องนำร้านเข้าโครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ นำเครื่องรับบัตรมาติดตั้งตั้งในร้าน แล้วช่วยเขียนเอกสารสมัครโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ชาวบ้านที่ทำไม่เป็น ไม่ต้องคิดเรื่องผลประโยชน์ ให้คิดแค่ว่าช่วยชาวบ้าน

โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ พอรัฐบาลออกโครงการเครื่องรูดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (EDC) จะได้นำเครื่องมาตั้ง เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้บริการในร้านได้สะดวก รวมถึงการพัฒนาร้านค้าให้ไปสู่ร้านค้าโดยไม่ใช้เงินสด รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ในร้าน
ผู้ประกอบการร้านโชห่วยที่กำลังได้รับผลกระทบจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จะต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยน และเชื่อมั่นว่าตัวเองต้องทำได้ ถ้าเรามองเห็นแต่ปัญหาแล้วไม่พัฒนาก็จะไม่มีทางสำเร็จ

แต่ถ้าเห็นปัญหาและลองทำดูก่อน จะรู้ว่ามีทางเดินสำหรับเรา สำรวจตลาดและขายสินค้าที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ไม่ได้ขาย สินค้าและบริการต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคในชุมชน ที่สำคัญอย่าปิดกั้นตัวเองในการเข้าร่วมกับโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับทางหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาร้านค้า

เช็กลิสต์! ‘สินค้าในร้านขายของชำ’ ที่ต้องมีติดร้าน1. ‘ของกิน’ หรือสินค้าบริโภคของกินหรือสินค้าบริโภคเป็นหมวดหมู่สินค้า ร...
09/12/2023

เช็กลิสต์! ‘สินค้าในร้านขายของชำ’ ที่ต้องมีติดร้าน

1. ‘ของกิน’ หรือสินค้าบริโภค
ของกินหรือสินค้าบริโภคเป็นหมวดหมู่สินค้า ร้านค้าปลีกที่จำเป็นอย่างมากในการเปิดร้านขายของชำ เพราะทุกคนที่ดำรงชีวิตหรืออาศัยอยู่ในบ้านเรือนจะต้องมีเครื่องปรุงรสไว้ประกอบอาหาร ต้องมีอาหารแห้งจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือปลากระป๋องตุนเอาไว้ยามฉุกเฉิน รวมถึงขนมนมเนย ของว่างที่ช่วยเพิ่มความสุขในการรับประทานอาหารของผู้คนได้อย่างครบครันด้วยในร้านขายของชำของคุณ

เรามาเช็กลิสต์กันค่ะ ว่ารายการสินค้าในร้านขายของชำที่เป็นหมวดหมู่สินค้าบริโภค มีอะไรบ้าง..

1.1 ‘น้ำปรุง’ สำหรับทำครัว
น้ำมันพืช เช่น หยก องุ่น กุ๊ก มรกต เกสร ทับทิม โอลีน
น้ำปลา เช่น ทิพรส ปลาหมึก หอยเป๋าฮื้อ
น้ำส้มสายชู เช่น อสร. เด็กสมบูรณ์
น้ำจิ้มไก่ เช่น แม่ประนอม ม้าบิน
น้ำจิ้มสุกี้ เช่น สุรีย์ พันท้าย แม่ประนอม
น้ำปลาร้า
ซอสปรุงรส เช่น แม็กกี้ ภูเขาทอง ทาคูมิ
ซอสมะเขือเทศ เช่น ไฮนซ์ โรซ่า ดอยคำ
ซอสพริก เช่น ศรีราชา ไฮนซ์
ซอสหอยนางรม เช่น แม่ครัว เด็กสมบูรณ์
ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ เช่น เด็กสมบูรณ์ ภูเขาทอง ง่วนเชียง
1.2 ‘เครื่องปรุง’ ในการทำครัว
น้ำตาลทราย เช่น มิตรผล ลิน
เกลือ เช่น ปรุงทิพย์ ทหารพราน
กะปิ เช่น ตราชั่ง เรือใบ
เต้าเจี้ยว เช่น ง่วนเชียง เด็กสมบูรณ์
กะทิกล่อง เช่น ชาวเกาะ อร่อยดี
แป้งทอดกรอบ เช่น โกกิ รสดี
วุ้นเส้น เช่น ต้นสน กิเลนคู่ ต้นไผ่
พริกไทย เช่น ไร่ทิพย์ มือที่ 1 ศรีจันทร์
พริกป่น เช่น ไร่ทิพย์ ข้าวทอง
ผงชูรส เช่น รสดี ฟ้าไทย อายิโนะโมะโต๊ะ
ซุปก้อน เช่น คนอร์ รสดี
เต้าหู้ไข่ เช่น นางพยาบาล เกษตร
1.3 ‘ของกิน’ และของตุน
ไข่ไก่
ปลากระป๋อง เช่น สามแม่ครัว โรซ่า
ปลาราดพริก เช่น โรซ่า ฉู่ฉี่แมคเคอเรล
หอยลายกระป๋อง เช่น ปุ้มปุ้ย
ผักกาดกระป๋อง เช่น นกพิราบ โรซ่า
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น มาม่า ยำยำ ไวไว
1.4 ‘ขนม’ เติมความเพลิดเพลิน
ขนมขบเคี้ยว เช่น เลย์ เทสโต้ โปเต้ แจ็กซ์
ขนมคุ้กกี้ เช่น ฟันโอ ดิวเบอร์รี่
ขนมเวเฟอร์ เช่น วอยซ์
ขนมเค้ก เช่น ยูโร่คัสตาร์ดเค้ก
ขนมปัง เช่น ฟาร์มเฮ้าส์ เลอแปง
ขนมช็อกโกแลต เช่น ทิวลี่ คิทแคท โชกี้โชกี้
ขนมเยลลี่ เช่น ปีโป้ จอลลี่
ลูกอม เช่น โอเล่ ฮอลล์ เมนทอส
หมากฝรั่ง เช่น เดนทีน คลอเร็ท
1.5 ‘เครื่องเทศ-ของกินแบบแผง’ หยิบง่าย ขายคล่อง
กระเทียม
หอมแดง
ถั่วลิสง
ปลาหมึกแห้ง
พริกป่น
พริกไทย
แคปหมู
ปลาตากแห้ง
หนังปลากรอบ
ดูแหล่งซื้อสินค้าแบบแผงได้ที่ > ของเล่นแผง ขนม อาหาร เครื่องเทศแผง จากกระทู้ FB รวมพลคนโชห่วย-ร้านของชำ ได้เลยค่ะ

การแบ่งขาย : สินค้าประเภทเครื่องปรุงหรือของกินในครัว คุณสามารถประหยัดงบประมาณมากขึ้นได้ด้วยการซื้อสินค้าขายส่งที่เป็นแบบแผงหรือแบบกระสอบใหญ่มาแบ่งขายได้ เช่น พริกไทย พริกป่น น้ำตาลทรายแดง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : ควรนำยี่ห้อที่นิยมในปัจจุบันมาขายด้วย เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น วัยกลางคนด้วยเพราะปัจจุบันวัยรุ่นอย่างผู้เขียนเอง จะชอบกินมาม่าเกาหลีมากกว่า ยี่ห้อที่แนะนำเลยก็จะเป็น มาม่าโอเรนทัล นิชชิน
ขนมเด็ก : ถ้าบริเวณที่คุณเปิดร้านมีเด็กเยอะ ควรนำขนมที่มีของแถมสำหรับเด็ก หรือขนมที่เด็ก ๆ ฮิตกันในช่วงนั้น จะทำให้เด็กมาซื้อของที่ร้านของคุณบ่อยขึ้น
สินค้า O-Top : ถ้าคุณมีสินค้าแบบอื่นที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปไม่ขายกัน การนำสินค้าเหล่านี้มาขาย จะช่วยเพิ่มความแตกต่างให้กับร้านขายของชำของคุณได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ยิ่งถ้าคนซื้อชอบแล้วเอาไปบอกต่อ ร้านของคุณติดลมบนแน่ ๆ
2. ‘ของใช้’ หรือสินค้าอุปโภค
สินค้าในร้านขายของชำ หมวดหมู่สินค้าอุปโภค
เรื่องของใช้ ต้องมีไว้ติดบ้าน

รายการสินค้าในร้านขายของชำ นอกจากของกินแล้ว ของใช้หรือสินค้าอุปโภคก็เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องซื้อมาไว้ติดบ้านอยู่เป็นประจำ ของใช้ที่ควรซื้อมาติดร้านขายของชำบน ชั้นวางสินค้า ของคุณจะมีอะไรบ้าง มาเช็กลิสต์กันค่ะ

2.1 สินค้าอุปโภคใน ‘ห้องน้ำ’
แปรงสีฟัน เช่น ซิสเท็มมา ซอลส์
ยาสีฟัน เช่น คอลเกต ดาร์ลี่
น้ำบ้วนปาก เช่น ลิสเตอรีน คอลเกต
สบู่ เช่น ลักซ์ นกแก้ว
ครีมอาบน้ำ เช่น บีไนซ์ โชกุบุสซึ
โฟมล้างหน้า เช่น การ์นิเย่ บีโอเร
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
แชมพู เช่น ซันซิล แพนทีน โดฟ
ครีมนวด เช่น ซันซิล แพนทีน โดฟ
ผ้าอนามัย เช่น ลอรีเอะ โมเดส
2.2 สินค้าอุปโภคบน ‘โต๊ะเครื่องแป้ง’
แป้ง เช่น แคร์ เบบี้มายด์
ครีมทาหน้า เช่น โอเลย์ ลอรีอัล
ครีมทาผิว เช่น นีเวีย เภสัช
ครีมกันแดด เช่น วาสลีน
เซรั่มบำรุงผม
น้ำหอม โคโลญ เช่น ทเวลพลัส
โรลออน เช่น เรโซนา
กระดาษทิชชู่ เช่น คลีเน็กซ์
ลิปสติก ลิปบาล์ม เช่น วาสลีน นีเวีย
น้ำยาล้างเล็บ
น้ำมันมะกอก
สำลี คอตตอนบัต
2.3 สินค้าอุปโภคที่ ‘ห้องซักล้าง’
ผงซักฟอก เช่น บรีส โอโม่
น้ำยาปรับผ้านุ่ม เช่น ดาวนี่ คอมฟอร์ท
น้ำยาซักผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์
น้ำยาล้างจาน เช่น ซันไลท์ ไลปอนเอฟ
ฟองน้ำล้างจาน เช่น สก็อตไบร์ท
น้ำยาล้างรถ เช่น 3M คาร์โก้
น้ำยาถูพื้น เช่น มาจิคลีน
น้ำยาล้างห้องน้ำ เช่น เป็ดโปร วิกซอล
2.4 ‘ของใช้ในบ้าน’ ที่จำเป็น
ยากันยุง
ครีมทากันยุง
ถ่านไฟฉาย
ถ่านรีโมท
เทียนไข
ธูป
ยาสามัญประจำบ้าน
ยาหม่อง
ยาแก้ปวด
ยาแก้แพ้
พลาสเตอร์
หวี
แหนบ
กรรไกร
กรรไกรตัดเล็บ
กาวตราช้าง
3. ‘เครื่องดื่ม’ ดับกระหาย
สินค้าในร้านขายของชำ หมวดหมู่เครื่องดื่ม
เครื่องดื่ม อย่าลืมเด็ดขาด

เครื่องดื่มถือว่าเป็นสินค้าในร้านขายของชำที่ขาดไม่ได้เลย หากคุณมี ตู้แช่เย็น เตรียมพร้อมแล้ว เรามาดูเครื่องดื่มที่ต้องซื้อติดตู้แช่กันค่ะ ว่าควรมีอะไรบ้าง

น้ำดื่ม เช่น คริสตัล น้ำทิพย์
เหล้า เช่น แสงโสม เบลนด์ 285
เบียร์ เบียร์กระป๋อง เช่น ช้าง ลีโอ
โซดา เช่น สิงห์ ช้าง
น้ำอัดลม เช่น โค้ก แฟนต้า เป๊บซี่
เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น M-150 กระทิงแดง
ชา เช่น อิชิตัน โออิชิ
กาแฟ เช่น เนสกาแฟ เบอร์ดี้
นม เช่น เมจิ โฟร์โมสต์ ไมโล
นมถั่วเหลือง เช่น แลคตาซอย ไวตามิลค์
นมเปรี้ยว เช่น ดัชมิลค์ บีทาเก้น
โยเกิร์ต เช่น ดัชชี่ เมจิ
น้ำผลไม้ เช่น ยูนิฟ ดอยคำ
น้ำหวาน เช่น เฮลบลูบอย
เต้าฮวยนมสด
Tips by writer

เครื่องดื่มที่เป็นเบียร์ : หากคุณมีงบมากพอ ควรซื้อตู้แช่เบียร์วุ้นติดร้านไว้ด้วย เพราะกำไรส่วนใหญ่ของร้านขายของชำ มักจะมาจากเหล้าเบียร์ ถ้าคนซื้อเขาเอนจอยที่จะดื่มเบียร์เย็น ๆ ที่เป็นวุ้น การมีไอเทมนี้ติดร้าน ก็ดีไม่ใช่น้อยเลยนะ
ไอศกรีม : ปกติร้านขายของชำก็จะมีตู้ไอศกรีมแยกต่างหาก ไม่ว่าจะเป็น วอลล์หรือเนสเล่ ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเจ้าของร้านจะสั่งจากแบรนด์ไหนค่ะ
น้ำแข็ง : ที่ร้านของคุณควรมีถังน้ำแข็งไว้คอยให้บริการแก่ลูกค้าด้วย เรียกได้ว่าเป็นกำไรอีกอย่างนึงเลยนะคะ (เพราะตัวผู้เขียนเอง ก็ไปซื้อน้ำแข็งจากร้านขายของชำบ่อยมาก) ตรงนี้ก็ควรจะซื้อถังน้ำแข็งมาไว้ที่ร้านด้วยค่ะ
4. สินค้าและบริการอื่น ๆ
สินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ต้องมีในร้านขายของชำ
บริการเสริม เพิ่มรายได้

นอกจากสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภค-บริโภค สินค้าและบริการอื่น ๆ ก็ควรมีในร้านขายของชำของคุณเช่นกันค่ะ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

บริการเติมเงิน : ซื้อตู้บุญเติม หรือตู้เติมเงินอื่น ๆ มาตั้งไว้ที่ร้าน ให้ร้านขายของชำของคุณครบครัน เป็นร้านแรก ๆ ที่ผู้คนจะเดินมาจับจ่ายใช้สอย
บริการส่งฟรี : ในการเริ่มต้นเปิดร้าน วิธีนี้ก็อาจจะทำให้ทำเป็นโปรโมชั่นด้วยการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ เมื่อผ่านช่วงโปรโมชั่นไปแล้ว อาจจะเป็นส่งฟรีขั้นต่ำ 50 บาทก็ได้ค่ะ (อย่างน้อยก็ให้ขั้นต่ำน้อยกว่า 7-11 ไว้ก่อน) การมีบริการแบบนี้ จะทำให้เมื่อลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้า พวกเขาจะนึกถึงร้านของคุณก่อน
บริการเติมน้ำมัน : ซื้อตู้เติมน้ำมันมาไว้ที่หน้าร้าน หรือถ้ามันแพงเกินไป การทำกำไรอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำได้ในร้านขายของชำนั่นก็คือ น้ำมันแบ่งขาย ที่เป็นขวดกรอก ซึ่งไอเทมที่จะตอบโจทย์การขายสินค้าประเภทนี้ ก็คือ ชั้นวางขวดน้ำมัน นั่นเองค่ะ
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ : การซื้อน้ำแบบขวดไปไว้ที่บ้าน ก็อาจเป็นอะไรที่แพงสำหรับลูกค้าบางคน หากคุณมีทางเลือกที่ประหยัดกว่าอย่าง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ จะทำให้พวกเขาประหยัดเงินได้เยอะ และคุณก็จะได้กำไรอีกทางหนึ่งด้วยนะ
แบนเนอร์ CTA สำหรับ PC BIGBEST อุปกรณ์มาร์ท ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์คิดเงิน ตู้แช่
ทิ้งท้าย by writer
ได้ลิสต์ที่ถูกใจสำหรับรายการสินค้าในร้านขายของชํากันรึเปล่าคะ? หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่กำลังจะ เปิดร้านขายของชำ เปิดร้านมินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อกันนะคะ มาทวนกันหน่อยว่าเราได้ลิสต์อะไรไปในบทความนี้บ้าง

สินค้าบริโภค เช่น ขนม น้ำมันพืช ผงชูรส ซุปก้อน น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว ซอส ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เกลือ น้ำตาล น้ำจิ้มสุกี้
สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ครีมทาผิว แป้ง ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ผ้าอนามัย
เครื่องดื่ม เช่น น้ำดื่ม นม น้ำหวาน ชาเขียว เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ เบียร์ สุรา โซดา น้ำอัดลม น้ำผลไม้
ของใช้อื่น ๆ เช่น ไฟแช็ค ถ่านไฟฉาย ถ่านก่อไฟ เทียนไข ธูป ยากันยุง ฟองน้ำล้างจาน ยาสามัญประจำบ้าน
ในการไปซื้อสินค้าต่าง ๆ ถ้ามีลิสต์เป็นหมวดหมู่สินค้า ร้านค้าปลีกหลัก ๆ ตามนี้ก็โอเคแล้วค่ะ แรก ๆ คุณอาจจะนำมาขายเฉพาะสินค้าที่คนมักจะใช้ประจำ (อย่างที่เราได้ยกตัวอย่างแบรนด์สินค้าต่อท้าย) แต่ถ้าเริ่มขายไปเรื่อย ๆ คุณจะเริ่มรู้ว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าแบรนด์ไหนบ้าง จากนั้นค่อย ๆ ขยับขยายต่อเติมไปค่ะ

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Chummer คลับของชาวโชห่วย posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Convenience Store?

Share