15/12/2021
ไม่ว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างไร และบรรดาแพลตฟอร์ม e-Commerce และ Social Commerce ทั้งหลาย จะเติบโตอย่างรวดเร็วเพียงใด แต่สำหรับสังคมไทยแล้ว “ร้านโชห่วย” หรือ “ร้านขายของชำ” ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ และผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย
ทำไมร้านโชห่วยยังคงเป็นช่องทางการขายหลัก ทั้งต่อคนไทย และแบรนด์สินค้า โดยเฉพาะกลุ่มอุปโภคบริโภค
✅ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กลุ่มใหญ่ยังคงอยู่ที่ “ร้านโชห่วย” ในส่วนแบ่งตลาด 44% รองลงมาคือ ร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เก็ต 24.1% โดยธรรมชาติของร้านโชห่วย มีทั้งร้านที่อยู่มานาน ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น และร้านที่ปิดตัวลงไป แต่ในเวลาเดียวกันจะเกิดร้านใหม่ตลอด
✅จากจำนวนร้านโชห่วยกว่า 400,000 ร้านค้า สะท้อนให้เห็นว่า “พลัง” ของร้านค้ารายเล็กเหล่านี้กระจายอยู่ในทุกตรอกซอกซอย ทุกชุมชน ตามหมู่บ้านทั่วประเทศ ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังลดการช้อปในร้านค้าแบรนด์ใหญ่ที่คุ้นเคย และหันไปช้อปปิ้งจากร้านเล็ก ๆ ในชุมชน หรือร้านค้าที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อนแทนมากขึ้นเรื่อย
✅ร้านโชห่วย ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกคน ทุกกำลังซื้อ
สินค้าที่ขายในร้านค้าปลีกดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าขนาดเล็ก เช่น แบบซอง หรือขวดเล็ก และเน้นตอบโจทย์ความคุ้มค่าคุ้มราคา เช่น ขนาดใหญ่ขึ้น ในราคาสุดคุ้ม ขณะเดียวกันสินค้าบางประเภท ทางร้านค้าใช้วิธีแบ่งขาย เช่น กาแฟซอง 3 in 1, เหล้าขาว, ข้าวสาร เพื่อทำให้ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อจำกัด สามารถซื้อได้
✅ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของร้าน กับลูกค้าคุ้นเคยกัน
✅ผู้ผลิต/เจ้าของแบรนด์ สนับสนุนช่องทางการขายดั้งเดิม
✅เป็นช่องทางการขายที่ทำให้แบรนด์สามารถขยายฐานลูกค้าได้วงกว้าง หรือ Mass Market ทั่วประเทศ
จะเห็นได้ว่าร้านโชห่วยหรือร้านชำยังไม่ตายไปจากสังคมไทยได้ง่ายๆแม้จะโดยร้านค้าสมัยใหม่เข้ามากินส่วนแบ่งการตลาด หากร้านโชห่วยเองมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา สรรหาสินค้าคุณภาพดี ต้นทุนถูกจะยิ่งเพิ่มผลกำไร และทำให้ลูกค้าในชุมชนได้สินค้าราคาประหยัดไปด้วย และยังทำให้ยังคงเป็นแหล่งรวมตัวของคนในชุมชนเหมือนเดิม โดยเฉพาะในต่างจังหวัดของไทย
Cr. : brandbuffet
อ่านกรณีศึกษาร้านโชห่วยต่อ :
https://www.brandbuffet.in.th/2021/01/traditional-trade-important-for-thai-people-and-thai-economy/