ผลิตภัณฑ์ชุมชนคนบุรีรัมย์-Buriram Community Product

  • Home
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชนคนบุรีรัมย์-Buriram Community Product

ผลิตภัณฑ์ชุมชนคนบุรีรัมย์-Buriram Community Product จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุมชนคนบุรีรัมย์

สูตรชนะเลือกตั้งของ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" และพรรคก้าวไกล กลายเป็นกรณีศึกษาของนักการตลาด เพื่อนำไปเรียนรู้ และประยุกต์ใช้...
27/05/2023

สูตรชนะเลือกตั้งของ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" และพรรคก้าวไกล กลายเป็นกรณีศึกษาของนักการตลาด เพื่อนำไปเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ในการสร้างแบรนด์ครองใจผุ้บริโภค บทสรุก “กลยุทธ์มดส้มล้มยักษ์” มีอะไรบ้าง "เอ็มไอ" ชวนถอดปรากฏการณ์ในสนามเลือกตั้งปี 66
แม้ผลการเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 จะจบลงแล้ว โดย “พรรคก้าวไกล” โกยคะแนนเสียงสูงสุดจากประชาชน ระหว่างนี้ รอการ “จัดตั้งรัฐบาล” โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง ขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้า
หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการหาเสียงครั้งนี้ คือการใช้ “สื่อ” แพลตฟอร์ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึง(Reach)กลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง และสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement)ในนโยบาย คอนทนต์ต่างๆ หลังจากปราศรัยในเวทีที่ลงพื้นที่ (Onground) ออกทีวี (On Air/Offine) ต่อยอดสู่ออนไลน์(Online) เชื่อมเข้าทุกช่วงเวลาของชีวิตหรือ to On Life
ก่อนตกผลึก “สูตรชนะ” ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” และพรรคก้าวไกล ที่คว้าชัยในสนามเลือกตั้งได้ มารู้จักผู้บริโภคในปัจจุบัน เสพ ใช้งานสื่อต่างๆอย่างไรบ้าง
คนไทยกว่า 55 ล้านคน จากเกือบ 70 ล้านคน มีการใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นประจำ แบ่งเป็น
📌LINE 50 ล้านราย(Chat app)
📌Meta(Facebook &Instagram) 44 ล้านราย
📌YouTube 38 ล้านราย
📌TikTok 30 ล้านราย
📌Twitter 8 ล้านราย
สะท้อนภาพสื่อสังคมออนไลน์คือส่วนหนึ่งของประชาชนไทยเกือบทุกคนแล้ว ดังนั้น การหาเสียงที่มาจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจึงมีพลังมหาศาล นำไปสู่ความสำเร็จในการเลือกตั้งด้วย และกลุ่มบริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ จำกัดหรือเอ็มไอ
MI ได้สรุปบทเรียนจากปรากฏการณ์เลือกตั้งปี 2566 มีทั้งสิ้น 6 ประเด็น
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1070596?anm=
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ #กรุงเทพธุรกิจTech #กรุงเทพธุรกิจPolitics
-------------------------------
ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Website: http://www.bangkokbiznews.com
Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
OpenChat: https://bit.ly/3ZgoMib
Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
Blockdit: https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews
Tiktok: https://www.tiktok.com/
Line: https://line.me/R/ti/p/%40rvb8351i

5 อาชีพจับเสือมือเปล่า-ลงทุนน้อย แต่ทำรายได้เดือนละ 1 ล้านบาทอาชีพที่สร้างรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท ทำอะไรก็รวย ไม่ใช่หมอ ...
27/05/2023

5 อาชีพจับเสือมือเปล่า-ลงทุนน้อย แต่ทำรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท
อาชีพที่สร้างรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท ทำอะไรก็รวย ไม่ใช่หมอ หรือ วิศวกรอีกต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อดีตดาวรุ่งพุ่งแรง ปัจจุบันเจ๊ง! ไปก็หลายราย
วันนี้ เรามี 5 อาชีพที่คนๆ ทั่วไป ก็ทำได้ มีเงินในกระเป๋า 500 บาทหรือ 1 แสนบาท ก็สร้างรายได้หลักล้านได้ ดังนี้

🖥 อ่านต่อบนเว็บไซต์: https://www.smartsme.co.th/content/224398

#อาชีพ #จับเสือมือเปล่า

เจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ทำกำไร โตระเบิด..- ติดตามอินโฟกราฟิกสวย ๆ เพิ่มเติมได้ที่ instagram.com/longtungirl
27/05/2023

เจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ทำกำไร โตระเบิด..

- ติดตามอินโฟกราฟิกสวย ๆ เพิ่มเติมได้ที่ instagram.com/longtungirl

22/05/2023

วันนี้ 22 พ.ค.
ไทยเข้าสู่ฤดูฝน
อย่างเป็นทางการ

ตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่อะไรในบริษัทขอบคุณข้อมูล    #บริษัท  #ตำแหน่ง
19/05/2023

ตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่อะไรในบริษัท

ขอบคุณข้อมูล #บริษัท #ตำแหน่ง

ธุรกิจทำเงิน แม้ว่าคุณกำลังนอนหลับใหล
16/05/2023

ธุรกิจทำเงิน แม้ว่าคุณกำลังนอนหลับใหล

โซเชียลกระหน่ำแชร์ภาพปกเพลง "Lover" ของศิลปินระดับโลก "Taylor Swift" ที่เป็นภาพ "ผัดไทย" อาหารขึ้นชื่อของไทย พร้อมข้อควา...
22/11/2022

โซเชียลกระหน่ำแชร์ภาพปกเพลง "Lover" ของศิลปินระดับโลก "Taylor Swift" ที่เป็นภาพ "ผัดไทย" อาหารขึ้นชื่อของไทย พร้อมข้อความว่า "Pad Thai" ในช่องยูทูปทางการของเธอที่มีผู้ติดตามกว่า 50 ล้านคน

ู้จัดการ
อ่านต่อ >>https://mgronline.com/travel/detail/9650000110443

📌ช่องทางติดตามเพิ่มเติม
IG : https://www.instagram.com/smes_manager/
Twitter : https://mobile.twitter.com/SMEs_Manager
TikTok : https://vt.tiktok.com/ZSe9H3y4v/
Youtube : https://youtube.com/channel/UCuu99SgIBgbhPmeHJkaWC4g

ย้อนรอย ‘นารายา’ กระเป๋าผ้าพันล้าน จากการปลุกปั้นของ วาสนา ลาทูรัส อดีตแม่ค้าขายไข่ไก่ ผู้เห็นโอกาสในวิกฤต ล้มแล้วไม่ท้อ...
30/10/2022

ย้อนรอย ‘นารายา’ กระเป๋าผ้าพันล้าน จากการปลุกปั้นของ วาสนา ลาทูรัส อดีตแม่ค้าขายไข่ไก่ ผู้เห็นโอกาสในวิกฤต ล้มแล้วไม่ท้อ
วาสนา ลาทูรัส อาจไม่คิดว่าเงิน 8,000 บาทที่ได้จากการขายกระเป๋าผ้าวันแรกเมื่อปลายปี 2536 จะงอกเงยมาเป็นรายได้กว่า 1 พันล้านบาทต่อปี ติดตามเรื่องราวการล้มแล้วลุกของเธอ จนมาเป็นแบรนด์นารายา (NaRaYa) ในวันนี้
#ธุรกิจ #นารายา #กระเป๋า #กระเป๋าผ้า

NaRaYa (นารายา) ร้านที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติและในไทย ปลุกปั้นโดย วาสนา ลาทูรัส อดีตแม่ค้าขายไข่....

 #ผลประกอบการธนาคารในรอบ9เดือน....สำหรับปี 2565 มาดูกันว่าผลประกอบการของธุรกิจธนาคารในตลาดหลักทรัพย์ในช่วง 9 เดือนแรกที่...
26/10/2022

#ผลประกอบการธนาคารในรอบ9เดือน....

สำหรับปี 2565 มาดูกันว่าผลประกอบการของธุรกิจธนาคารในตลาดหลักทรัพย์ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา มีผลประกอบการอย่างไร..

ขอบคุณ : MarketeerOnline

ีเตอร์

26/10/2022

‘จากดีไซเนอร์ สู่ฟาร์มเมอร์’ หนังสั้นจากเรื่องจริงของผู้ประกอบการรายย่อยที่ขับเคลื่อนท้องถิ่น เพื่อส่งแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
รู้หรือไม่ว่าเซียนปลูกผักข้างบ้าน น้องนักขายหมู่บ้านถัดไป หรือใครก็ตามที่ประกอบอาชีพการงาน ล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว APEC Business Advisory Council 2022 (ABAC 2 022) หรือสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 จึงเกิดไอเดียสร้างหนังสั้น ‘Business of the People’ เล่าเรื่องจริงของ ‘ตั้ม-นิพนธ์ พิลา’ ผู้ประกอบการรายย่อยจากจังหวัดเพชรบูรณ์ อดีตดีไซเนอร์ที่ผันตัวมาเป็นชาวนาที่บ้านเกิด และสามารถพัฒนาชุมชนและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้สำเร็จ
สิ่งที่คุณจะสัมผัสได้ทันทีที่ชมหนังสั้นเรื่องนี้คือ ความน่ารักของผู้คนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่คงน่าเสียดายมากหากสิ่งดีๆ เหล่านี้ไม่ถูกนำมาพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์
เป็นที่มาของการนำแนวคิด Business of the People หรือ ธุระ(กิจ)ประชา ที่เชื่อว่าเราทุกคนผู้ที่ประกอบอาชีพการงานคือผู้ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตไปด้วยกัน ‘ธุรกิจ’ จึงนับเป็น ‘ธุระ’ ของทุกคน ในการยกระดับความอยู่ดีกินดีร่วมกัน
ภายใต้เส้นเรื่องน่ารักๆ ของคนในชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มี ตั้ม นิพนธ์ เป็นหัวแรงสำคัญขับเคลื่อนพลังชุมชน จนเกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกันให้กลายเป็นตัวอย่าง ‘แนวทางการปฏิบัติ’ ของธุรกิจ หนังสั้นเรื่องนี้ยังสะท้อน 5 กลยุทธ์ของ ABAC 2022 ที่จะส่งข้อเสนอแนะสู่ผู้นำเอเปค ได้แก่
1. Regional Economic Integration - การบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาค 2. Digital - สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า 3. MSME and Inclusiveness - เสริมสร้างแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการระดับ MSME เพื่อให้ธุรกิจในทุกระดับมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4. Sustainability - ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสีเขียว และระบบอาหารที่ยั่งยืน และ 5. Finance and Economics - ส่งเสริมด้านการเงินเพื่อเร่งการฟื้นตัวและการสร้างระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยสำหรับการเงินดิจิทัล
มากไปกว่าผลลัพธ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก หนังสั้นที่คุณจะได้ดูต่อจากนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทยทุกคนได้หันกลับมามองหาข้อดีของตัวเอง มองเห็นจุดแข็งของเพื่อนร่วมธุรกิจ ไปจนถึงการเข้าใจบทบาทและความสำคัญของตัวเอง เพื่อที่จะลุกขึ้นมาขยับและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน
#สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค2022
ขอบคุณ : the Standard

"....เรียนให้ลึก รู้ให้จริง ลงมือทำ...." #ธนินท์  #เจียรวนนท์ีเตอร์
24/10/2022

"....เรียนให้ลึก รู้ให้จริง ลงมือทำ...."
#ธนินท์ #เจียรวนนท์

ีเตอร์

"...ยุคนี้ ไม่ใช่ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็น ยุคปลาเร็วกินปลาช้า วันนี้ เราเก่ง พรุ่งนี้อาจจะมีคนเก่งกว่า เราจึงไม่ควรหยุ...
23/10/2022

"...ยุคนี้ ไม่ใช่ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็น ยุคปลาเร็วกินปลาช้า วันนี้ เราเก่ง พรุ่งนี้อาจจะมีคนเก่งกว่า เราจึงไม่ควรหยุดพัฒนาตนเอง..."
#ธนินท์ #เจียรวนนท์

ีเตอร์

"..... Content is the KING....."ีเตอร์
13/10/2022

"..... Content is the KING....."

ีเตอร์

"...ถาม 1 ตอบ 3 ปิดการขายได้ไว..." #เปิดช่องทางการซื้อหลายช่อง  #ลูกสั่งสะดวก  #ปิดการขายแบบไม่ต้องพูดมากีเตอร์
10/10/2022

"...ถาม 1 ตอบ 3 ปิดการขายได้ไว..."

#เปิดช่องทางการซื้อหลายช่อง #ลูกสั่งสะดวก #ปิดการขายแบบไม่ต้องพูดมาก

ีเตอร์

10/10/2022

เข้าใจคำว่า /ซอฟต์พาวเวอร์ ง่ายๆ.....

ในสไตล์ทนายปีเตอร์ ...น่ะครับ

"...Soft Power/ซอฟต์พาวเวอร์ คือ การปลุกความเป็นติ่งในตัวเรา เพื่อให้สามารถเอาออกขายให้คนทั้งโลกได้...."

เรา มีความสามารถอะไร เราถนัดอะไร เอาความสามารถ เอาความถนัด เหล่านั้น ไปพัฒนาเพื่อขายให้คนทั้งโลกได้....

ดังนั้น อีกนัยยะหนึ่ง “Soft Power” คือ การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม คุณค่าทางสังคม เพื่อ “เชื้อเชิญ” ให้ผู้คนสนใจแล้วอยากทำตาม ดังเช่น กระแสเกาหลีฟีเวอร์ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก หลังซีรีส์ ภาพยนตร์เกาหลี รวมถึงเหล่าศิลปิน K-pop โด่งดังไปทั่วโลก พร้อมสอดแทรกวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ไปในสื่อเหล่านั้นด้วย

“ซอฟต์พาวเวอร์” เป็นศัพท์ที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง หลังการแสดงของมิลลิบนเวทีคอนเสิร์ตระดับโลก “Coachella” สั่นสะเทือนวงการข้าวเหนียวมะม่วง ทำยอดการค้นหาบน Google พุ่งทะยาน และทำยอดขายข้าวเหนียวมะม่วงแบบเดลิเวอรีบน Line Man พุ่งสูงถึง 3.5 เท่า...

ประเทศ ‘เกาหลีใต้’ เป็นประเทศที่ยืนหนึ่งเรื่องการปลุกพลังความเป็นติ่ง หากย้อนเวลากลับไป ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ที่เราต้องดูทุกเช้า เพลงฮิต Nobody และ Gangnam Style ที่ทำเอาหลายคนเต้นตามได้แบบไม่มีหลุด มาจนถึง BLACKPINK ที่เข้าไป in your area ได้แบบไร้ข้อกังขา เวลามีคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง ติ่งไทยก็สามารถเปลี่ยนอิมแพ็คฯ ให้กลายเป็นแดนโสมได้แบบเหลือเชื่อ เหล่านี้คือ พลัง K-POP ที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนทั่วโลกให้อยากไปเหยียบเกาหลีใต้ดูสักครั้ง ซึ่งทางรัฐบาลเขาถึงขั้นเปิดศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดสอนคอร์สต่าง ๆ เช่น ภาษา อาหาร การเต้น....

สลับภาพกลับมาที่บ้านเรา มีหลายอย่างที่คนหลงรักและศรัทธาในศิลปะและวัฒนธรรมอยู่พอสมควร เช่น....

#ต้มยำกุ้ง – อาหารบ้านเรามีชื่อเสียงดังไกลไปทั่วโลก

#ศาสตร์การนวด – เป็นศาสตร์ที่ทุกคนชื่นชม

#ตุ๊กตุ๊กไทย – ยานพาหนะไทยที่ใครก็อยากมาลอง

#มวยไทย – กีฬาระดับชาติที่มีความยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพของผู้คนระดับโลก

#ละครไทย – กำลังเริ่มเติบโตไปในประเทศใกล้เคียง

#การท่องเที่ยวไทย – เป็นหมุดหมายสำคัญของคนทั่วโลก

เอาเป็นว่า วัฒนธรรม ละคร ศิลปะและศิลปิน บ้านเรามีฝีมือและความคิดที่ไม่แพ้ใครแน่นอน

แต่ในระดับสากล ฝีมือและความตั้งใจของคนกลุ่มเล็กๆ อาจจะไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย....

#พรรคเพื่อไทย จึงมีนโยบายส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 soft power เป็นการต่อยอดจากนโยบาย 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ อันจะนำมาซึ่งการเสริมสร้างรายได้ในระดับครัวเรือน หรือเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่เป็นเจ้าของสินค้า/บริการเดิมอยู่แล้วได้อีกทางหนึ่ง...

ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ / BrandThink

@ทนายปีเตอร์
id line : tanaipetertv

#เพื่อไทย #อำเภอเมืองบุรีรัมย์
_____________

ผลิตโดย : พีรภัทร ทองธีรสกุล
ที่อยู่ผู้ผลิต : 88 หมู่ 16 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000
จำนวนที่ผลิต : 1 ชิ้น
ผลิตตามวันและเวลาที่ปรากฏ

10/10/2022
   "....ต้อง ใหม่ + ต่าง...."ีเตอร์
06/10/2022



"....ต้อง ใหม่ + ต่าง...."

ีเตอร์

03/10/2022

#การตลาด....ยุคใหม่ ด้วยปลายนิ้ว

ขอบคุณ : kasetGO

ีเตอร์

"...การตลาด ยุคใหม่ สื่อสาร อย่าเยิ่นเย้อ...."ีเตอร์
03/10/2022

"...การตลาด ยุคใหม่ สื่อสาร อย่าเยิ่นเย้อ...."

ีเตอร์

 #ตลาดชุมชนคนบุรีรัมย์ - Buriram Market Community (BMC)ทนายปีเตอร์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารการขายผ่านออนไลน...
02/10/2022

#ตลาดชุมชนคนบุรีรัมย์ - Buriram Market Community (BMC)

ทนายปีเตอร์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารการขายผ่านออนไลน์ ให้กับพี่น้องประชาชนคนบุรีรัมย์ ....

เพื่อช่วยสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชุมชน สามารถมีช่องทางจำหน่ายได้มากขึ้น....

หากท่านใด มีผลิตภัณฑ์ ของชุมชน หรือของตนเอง อยากจะนำมาจัดจำหน่ายผ่านช่องทางนี้

ทีมงาน จะลงไปเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์และนำมาทำการตลาดให้แบบครบวงจร

ท่านสามารถติดต่อมาที่ : 065 623 2823 หรือ id line : tanaipetertv

ที่อยู่ : .....👉👉👉

ตลาดชุมชนคนบุรีรัมย์ - Buriram Market Community (BMC)

88 หมู่ 16 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000

https://www.facebook.com/profile.php?id=100086303985077

มารู้จัก .... ...!!!?จากปรากฎการณ์ Soft Power ของไทย จากกระแส ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ กรณีศิลปินและแหล่งท่องเที่ยวของไทยมาก่...
01/10/2022

มารู้จัก .... ...!!!?

จากปรากฎการณ์ Soft Power ของไทย จากกระแส ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ กรณีศิลปินและแหล่งท่องเที่ยวของไทยมาก่อนหน้านี้ จนเกิดคำถามว่า Soft Power คืออะไร หลายสื่อและผู้รู้ต่างช่วยกันอธิบาย และ Soft Power มีอะไรบ้าง รวมไปถึง กระบวนการสร้าง Soft Power และ หน่วยงานที่ทำ Soft Power ซึ่งขอขยายความอธิบายเพิ่มเติมดังนี้

1.Soft Power คืออะไร

ซอฟท์พาวเวอร์ (soft power) หรือ อำนาจอ่อน ศึกษาจากทฤษฎี จะความเข้าใจลักษณะอำนาจที่เกิดจากการสร้างความนิยม ซึ่งยังมีจุดบกพร่อง soft power เป็นทฤษฎีซึ่งก่อเกิดในสาขารัฐศาสตร์ นำเสนอโดยศาสตราจารย์ Joseph S. Nye, Jr. แห่ง Harvard University

Nye ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งเป้าการสร้างเครือข่ายยุคหลังสงครามเย็น จึงเอ่ยถึงการใช้อำนาจแบบใหม่สำหรับโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายผ่านกลไกผสมผสาน เช่น ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภาพลักษณ์ทางการเมือง และเสน่ห์วัฒนธรรม
Nye เชื่อว่า มันจะทำให้ทุกฝ่ายเปิดรับปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในระดับที่ลึกขึ้น อำนาจแบบนี้เรียกว่า soft power ต่างจากอำนาจทางทหาร หรือ การขู่เข็ญบังคับแม้แฝงเจตนาเดียวกัน แบบหนึ่งแค่ดูอ่อนโยน อีกแบบแข็งกร้าว เมื่อเกาหลีใต้อ้างว่า การส่งออกความบันเทิงเป็น soft power ความเข้าใจผู้คนก็เริ่มเปลี่ยนไป หลายคนมอง soft power ประหนึ่งการสร้างความนิยมเพื่อผลทางการค้า มุมมองนี้ไม่ผิด แต่ก็ไม่ครบถ้วน จริง ๆ แล้ว soft power คืออำนาจที่ต้องอาศัยกระบวนการจัดการและตอบสนองต่อภาคการเมือง หากพิจารณาองค์ประกอบตลอดกระบวนการ จะเห็นว่า soft power เป็นมากกว่าการส่งเสริมเศรษฐกิจผ่านความบันเทิง (ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, 2565)

1.2 ซอฟท์พาวเวอร์ โมเดล 4A 2R

ขยายรายละเอียด soft power แบ่งกระบวนการทางอำนาจออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งผู้ใช้อำนาจและผู้รับอำนาจ ในฝั่งผู้ใช้อำนาจ องค์ประกอบตามหลัก 4A คือตัวขับเคลื่อน ฝั่งผู้รับอำนาจ องค์ประกอบจะต่างออกไปด้วยหลัก 2R

#กระบวนการ 4A

1.2.1 Agenda วาระของประเทศ มักแบ่งเป็นวาระลับและวาระสาธารณะ - ตัวอย่าง หากยกกรณีสหรัฐฯ ขึ้นมา จะพบว่า วาระสาธารณะคือการขยายเครือข่ายโลกาภิวัตน์ แต่วาระลับเป็นเรื่องความมั่นคงทางทหาร พลังงาน และการเมือง

1.2.2 Actor ผู้เล่นทางอำนาจ ได้แก่ รัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร ฯลฯ - ตัวอย่าง ในกรณีของสหรัฐฯ ช่องทางจำนวนมากถูกนำมาใช้เพื่อภารกิจ soft power หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมฮอลลีวูดซึ่งอาศัยผู้เล่น 3 ฝ่าย ได้แก่ นายทุนภาพยนตร์ ผู้ผลิต และรัฐบาล

1.2.3 Asset ทุนทางอำนาจ เช่น เสน่ห์วัฒนธรรม การศึกษา ความช่วยเหลือ ฯลฯ ในเวลาเดียวกัน Asset ก็หมายถึงทุนที่เป็นเม็ดเงินด้วย - ตัวอย่าง กรณีฮอลลีวูดบ่งชี้ว่า ทุนของสหรัฐฯ คือวัฒนธรรมภาพยนตร์ซึ่งมีลักษณะเด่นตรงที่เน้นการผลิตชิ้นงานเพื่อจับใจผู้ชม อัดแน่นด้วยคุณภาพความสนุกซึ่งเกิดจากจินตนาการ ทักษะการเล่าเรื่อง เทคโนโลยี และงบผลิตขั้นสูง แต่งานแทบทุกชิ้นจะเร่งเร้าให้ผู้ชมเห็นพ้องกับสหรัฐฯ ยกย่องสหรัฐฯ และอาจถึงขั้นตอบรับกระบวนการอเมริกานุวัตร หรือ เปลี่ยนทัศนะพฤติกรรมตนเองให้เป็นอเมริกัน

1.2.4 Action ปฏิบัติการ หรือ ยุทธศาสตร์ที่จะช่วยให้เกิดการใช้อำนาจตามความคาดหวัง - ตัวอย่าง ปฏิบัติการทั้งหมดต้องเป็นไปเพื่อประกันคุณภาพงานและปฏิกิริยาตอบรับเชิงบวกจากชาติเป้าหมาย นายทุนฮอลลีวูดสนับสนุนเม็ดเงิน ผู้ผลิตพัฒนาทักษะการสื่อสาร เทคนิค และสร้างเนื้องานให้ทรงพลัง รัฐบาลให้คำแนะนำเรื่องเนื้อหาภาพยนตร์ ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ประกอบฉาก/ประกอบการแสดง ผลักดันให้หน่วยงานสหรัฐฯ ในต่างประเทศค้นคว้าข้อมูลทางการตลาดและเข้าหาผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่จะอำนวยการฉายภาพยนตร์ฮอลลีวูด

#กระบวนการ 2R

1.2.5 Reaction ปฏิกิริยาตอบรับ อาจจะอยู่ในรูปของการบริโภค การให้ความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายสนับสนุนผู้ใช้อำนาจ - ตัวอย่าง หากยกตัวอย่างประเทศไทย การตอบรับภาพยนตร์ฮอลลีวูดเป็นไปด้วยดีเสมอ อัตราการบริโภคแต่ละปีเกินกว่า 80% ขณะที่ภาพยนตร์ไทยกลับไม่เป็นที่นิยม การตอบรับฮอลลีวูดยังเห็นได้จากภาคการฉายซึ่งมักเปิดโรงให้แก่งานฮอลลีวูดไม่ต่ำกว่า 75% ของรอบฉายทั้งหมด รวมทั้งเครือข่ายแฟนภาพยนตร์และกลุ่มนักวิจารณ์ที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมการชมงานจากฮอลลีวูดเป็นการเฉพาะ หมายความว่า ฮอลลีวูดได้รับความร่วมมือจากคนไทยในวงกว้างอันเป็นผลมาจากความพึงพอใจเนื้องานร่วมกับแผนการรณรงค์จากต่างประเทศ

1.2.6 Result ผลการตอบรับอำนาจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐ เอกชน หรือ ประชาชน - ตัวอย่าง เมื่องานฮอลลีวูดได้รับการตอบรับเข้มข้น สิ่งที่ตามมาคือโลกทัศน์แบบอเมริกันซึ่งฝั่งรากลึกในสังคมไทย คนไทยจึงเชื่อในเศรษฐกิจเสรี เชื่อในความชอบธรรมของกองทัพสหรัฐฯ และพร้อมคล้อยตามสหรัฐฯ ในการขยับย่างแต่ละครั้ง

ดังนั้น soft power จึงเป็นเรื่องของการจัดการอำนาจอย่างมียุทธวิธีและอาศัยวาระนำทาง สูตรความเข้าใจแบบ 4A 2R ชี้ให้เห็นว่า soft power จะประสบความสำเร็จเมื่อพร้อมด้วย 1.วาระที่จูงใจ 2.ความร่วมมือจากทุกฝ่าย 3.ทรัพยากรทางอำนาจที่มีพลังในการโน้มน้าวและเข้าถึงผู้คน และ 4. การจัดการเพื่อให้มั่นใจว่า soft power จะบังเกิดผลในชาติเป้าหมายโดยรวมเรื่องของความพยายามสร้างปฏิกิริยาตอบรับในชาติเป้าหมายให้มากที่สุด (ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, 2565)

2. Soft Power ของไทย

นโยบายต่อเนื่องในการสนับสนุน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม 5 F ที่เป็น Soft Power ของไทยให้กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย
2.1 อาหาร (Food)
2.2 ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film)
2.3 การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion)
2.4 ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting)
2.5 เทศกาลประเพณีไทย (Festival)
ทั้งนี้ เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นรากฐานที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม สะท้อนผ่านอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิง เพลง ภาพยนตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว กลายเป็น Soft Power ของไทย ให้ที่เป็นที่รู้จักและได้รับการชื่นชมจากคนทั่วโลก หากพลังและศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ที่ประกอบด้วยศิลปินไทย ที่มีความสามารถ ทีมงานบุคลากรเบื้องหลังที่มีทักษะและเชี่ยวชาญ และการสนับสนุนของภาครัฐ จะเป็นการสร้างโอกาสและช่องทางใหม่ๆ ผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ Soft Power กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย (ธนกร วังบุญคงชนะ, 2565)

3. กระบวนการสร้าง Soft Power

3.1 การขับเคลื่อน การส่งเสริมและผลักดัน Soft Power ของรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ ส่งออกสินค้าใน 4 หมวดสำคัญ ได้แก่ อาหาร ดิจิทัลคอนเทนต์สุขภาพความงาม และสินค้าอัตลักษณ์ไทย การจัดทำมาตรการเชิงรุกผลักดันการส่งออกผลไม้การผลักดันการค้าชายแดน ซึ่งมีคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอาเซียน ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.2 การส่งเสริมสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล โอทอปพรีเมียมโกอินเตอร์ (OTOP Premium Go Inter) โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างความยั่งยืนในตลาดสากลภายใต้การใช้ประโยชน์จากโอกาส สิ่งของ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ที่นานาประเทศกำลังให้ความสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้โลกเน้นการผลิตสินค้าที่เกิดคาร์บอนต่ำและไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโอกาสในการผลักดันสินค้าระดับท้องถิ่นไทยให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในตลาดนานาชาติได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

3.3 การท่องเที่ยว ททท.ทำในหลายด้านอยู่แล้ว ล่าสุดชู Soft Power ในกระแส “ซีรีส์วายไทย” หนึ่งในพลังแห่ง Soft Power ดังไกลไปทั่วโลก แม้แต่ “สาววายญี่ปุ่น” ผู้จุดพลุวัฒนธรรมย่อย หรือ ซับคัลเจอร์ (Subculture) นี้ส่งออกข้ามพรมแดน ในตลาดญี่ปุ่น ซีรีส์วายไทยถือว่ามาแรงเป็นอันดับ 1 ท่ามกลางการแข่งขันของซีรีส์วายจากทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก ทั้งของญี่ปุ่นเอง รวมถึงเกาหลี และไต้หวัน (พรไพลิน จุลพันธ์, 2565)

4. หน่วยงานที่ทำ Soft Power

ช่วงที่ผ่านมา คงทราบกันดีว่าหลายหน่วยงานรัฐ ต่างทำหน้าที่ในการส่งเสริม Soft Power ของไทยในเรื่องของอาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting)
เทศกาลประเพณีไทย (Festival) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งหน่วยงานที่รุกด้านต่างประเทศ อย่างกระทรวงการต่างประเทศ ผ่าน มูลนิธิไทย เอาจุดเด่นของไทยคือคุณลักษณะและเอกลักษณ์ของคนไทยใน 3 ด้าน ได้แก่ความเคารพที่มีต่อผู้อื่น (RESPECT) ความมีเมตตากรุณา (COMPASSION) และความพร้อมในการเปิดรับสิ่งต่าง ๆ (OPENESS) มูลนิธิไทยจะนำเสนอปัจจัยสำคัญที่เป็นที่มาของคุณลักษณะเด่นทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ทั้งในรูปแบบการให้ข้อมูลผ่านสื่อทุกแขนงเป็นภาษาอังกฤษ (โดยมีดำริจะทำเป็นภาษาไทยด้วยต่อไป) พร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่จะเข้าถึงชาวต่างชาติโดยตรง เพื่อให้รู้จัก เข้าใจ และนิยมไทยยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการอยู่ใน 4 ด้าน คือ

4.1 การเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม (Culture & Heritage)

วัฒนธรรมไทยเป็นเบ้าหลอมสำคัญของคุณลักษณะเด่นของความเป็นไทยและคนไทย บ่งบอก
ที่มาของคุณสมบัติและอุปนิสัยอ่อนโยน อ่อนน้อม ถ่อมตน ความละเมียดละไม ใส่ใจในรายละเอียด ของคนไทย รวมถึงศิลปะในมวยไทย เอกลักษณ์เหล่านี้ควรได้รับการเผยแพร่ให้แพร่หลายยิ่งขึ้นในต่าง ประเทศ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่สร้างเกียรติภูมิให้กับความเป็นไทยและคนไทย ศิลปวัฒนธรรมหลัก ที่จะเผยแพร่แบ่งเป็น ๗ หมวดหมู่ ได้แก่

ศิลปะและหัตถกรรมไทย (Artistry and Craftsmanship)
ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and Dramatic Arts)
ธรรมเนียมและเทศกาล (Traditions and Festivals)
วรรณศิลป์และนิทานพื้นบ้าน (Literature and Folklore)
ภูมิปัญญา (Local Wisdoms)
อาหารไทย (Thai Food)
มวยไทย (Muay Thai)
โครงการแลกเปลี่ยน (Exchange Programs)
การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติอันจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี มิตรภาพระหว่างคนโดยตรง เป็นช่องทางให้ชาวต่างชาติรู้จักความเป็นไทยที่ลึกซึ้งขึ้น ขณะที่คนไทยก็จะได้รู้จักและเข้าใจชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เกิดเครือข่ายระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในกลุ่มวัยต่าง ๆ ทั้งยังจะเปิดช่องทางที่นำไปสู่บรรยากาศและโอกาสของความร่วมมือและการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป ลักษณะโครงการมีหลากหลาย อาทิเช่น

การให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างประเทศมาศึกษาในประเทศไทย
การเชิญเยาวชนต่างประเทศมาเข้าค่ายในประเทศไทย
การส่งอาสาสมัครไทยไปยังประเทศต่าง ๆ
การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยแก่ชาวต่างชาติในประเทศไทย เช่น
คณะทูต นักศึกษาต่างชาติ ผู้รับทุนจากต่างประเทศ นักธุรกิจจากต่างประเทศ โดยมีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ จากฝ่ายไทยเข้าร่วมโครงการด้วย

4.2 การสอนภาษาไทยออนไลน์ด้วยภาษาต่าง ๆ (Thai Language Courses)

ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากขึ้นในรูปของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน กอปรกับสื่อรายการบันเทิงภาพยนตร์และละครไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นทั้งผ่านทางโทรทัศน์ และช่องทางอื่น ๆ เช่น ยูทูป ทำให้มีผู้สนใจเรียนภาษาไทยมากขึ้น การรู้จักภาษาไทยจะช่วยให้ชาวต่างชาติเข้าถึงมิติต่าง ๆ ของความเป็นไทยได้ลึกซึ้งขึ้น และน่าจะนำไปสู่ความนิยมไทยได้เพิ่มขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาไทยขึ้นบนเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของมูลนิธิไทยยังจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจแต่ขาดช่องทางหรือโอกาส สามารถเรียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี การพัฒนาสื่อการสอนภาษาไทยดังกล่าวขณะนี้ก้าวหน้าไปด้วยดีทั้งภาษาอังกฤษ เกาหลี เยอรมัน เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สเปน อาหรับ และอินโดนีเซียโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาษาเขมรและลาวโดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และภาษาเมียนมาโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ ในขั้นเริ่มต้นจะสอนภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจาวันในสถานการณ์ต่าง ๆ

4.3 การพัฒนาด้านจิตใจ (Spiritual Values)

พระพุทธศาสนาเป็นอีกรากฐานที่สาคัญที่ก่อคุณลักษณะและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของความ เป็นไทยที่บ่มเพาะความมีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์ ในด้านนี้จะเป็นการนาเสนอพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จากขั้นพื้นฐานไปสู่รายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับการให้ข้อมูล ข้อแนะนำ และวิธีปฏิบัติในการทำสมาธิที่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับของคนในวัยต่าง ๆ ในนานาประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากขณะนี้ที่มีพระพุทธศาสนาแล้ว ในอนาคตอาจมีศาสนาสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่คนไทยให้การนับถือเช่นกันและต่างอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างกลมกลืน สะท้อนถึงความเปิดกว้าง การยอมรับ และความเคารพต่อความแตกต่างทางความเชื่อของคนในสังคม

มูลนิธิไทยจะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ โดยแปลหรือเรียบเรียงขึ้นจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับและอ้างอิงได้ เช่น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากร หรือจากศิลปินโดยตรง เช่นเดียวกับเนื้อหาในด้านพระพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น ๆ ก็จะมาจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ โดยนำเสนอในรูปแบบของบทความ E-book คลิปวีดิทัศน์ เป็นต้น ผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิไทย และสื่อสังคมออนไลน์หลัก ๆ ทั้งหมด และจะใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรงด้วย
การนำเสนอจุดเด่นและเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและของคนไทยให้เป็น ที่ประจักษ์ยิ่งขึ้น โดยทำอย่างต่อเนื่อง ในกรอบการทูตสาธารณะที่เน้นประชาชนชาวต่างประเทศเป็นเป้าหมาย จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ความนิยม และการยอมรับในคนไทย ทำให้ประเทศและคนไทยมีเกียรติภูมิมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิไทย ก่อตั้งโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านการทูตสาธารณะ (Public Diplomacy) เพื่อสร้างความนิยมไทยในระดับประชาชนในต่างประเทศและในกลุ่มชาวต่างประเทศในประเทศไทย โดยการเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและของคนไทย พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างชาติกับคนไทยผ่านโครงการอบรมและโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ เพื่อสร้างมิตรภาพ ทัศนคติที่ดี ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่ความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป

คณะกรรมการมูลนิธิไทย เป็นผู้กำหนดนโยบาย ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธาน กรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงของกระทรวงต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนระดับสูงจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งภาคเอกชน โดยมีนายธฤต จรุงวัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูต เป็นเลขาธิการมูลนิธิไทย ....

ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

ีเตอร์

01/10/2022

👉👉 อาหารไทย #ผัดไทย...ก้าวไกล สู่สากล ..!!!!!

Oxford Dictionaries บรรจุคำว่า pad thai (ผัดไทย) เป็นคำศัพท์สากลที่รู้จักกันทั่วโลก ไม่ใช่แค่ชื่อเฉพาะอีกต่อไป

ผู้ใช้ทวีตเตอร์รายหนึ่งเปิดเผยว่า Cambridge/Oxford จัดให้คำว่า "ผัดไทย" กลายเป็นศัพท์ C2 หมายถึงหมวดศัพท์ทั่วไปที่ถูกบัญญัติใช้เพื่อแสดงให้รู้ถึงแหล่งที่มา ต้นกำเนิด หรือพื้นถิ่นของสิ่งๆ นั้นได้ชัดเจน ‘ผัดไทย’ เป็นคำที่ไม่ใช่ชื่อเฉพาะอีกต่อไป เพราะเป็นชื่อที่คนทั่วโลกรู้จัก เหมือน pizza และไม่ต้องพิมพ์ขึ้นต้นตัวพิมพ์ใหญ่แบบชื่อเฉพาะ

และเมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์ Oxford Dictionaries และพิมพ์อักษรพิมพ์เล็กว่า pad thai จะพบกับความหมายว่า เป็นอาหารไทยซึ่งเป็นชนิดเส้น ที่ทำมาจากข้าว เครื่องเทศ ไข่ ผัก เนื้อสัตว์หรืออาหารทะเล

สำหรับ "ผัดไทย" เป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติไทย ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนเดิมเรียกอาหารชนิดนี้ว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัด" และได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติใหม่ตามอย่างอาหารไทยและได้รับความนิยมไปทั่วโลก

จากข้อมูลปี 2546 มีร้านอาหารไทยกว่า 6,800 ร้านกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก และทุกร้านจะมีผัดไทย ผัดไทยในต่างแดนจะเน้นการเสิร์ฟบนภาชนะที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ให้ภาพว่าเป็นอาหารของชนชั้นสูง อาหารชาววัง

ส่วนประกอบของผัดไทยโดยทั่วไปจะนำเส้นเล็กมาผัดด้วยไฟแรงกับไข่ ใบกุยช่ายสับ ถั่วงอก หัวไชโป๊สับ เต้าหู้เหลือง ถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยพริก น้ำปลา และน้ำตาล เสิร์ฟพร้อมกับมะนาว ใบกุยช่าย ถั่วงอกสด และหัวปลีเป็นเครื่องเคียง ต่อมามีการประยุกต์โดยนำส่วนผสมทุกอย่างผัดให้เข้ากันแล้วห่อด้วยไข่ เรียกว่า "ผัดไทยห่อไข่"

ที่มา : https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/.../pad-thai
https://twitter.com/mingninja/status/1488346690163978240
https://th.wikipedia.org


#สาระความรู้เพื่อวันนี้

ติดตามรายการของ workpointTODAY
ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK

ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ
ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS

#ขอบคุณข้อมูล : workpoint Today.......................................................

ความงดงามของ  #ผ้าไหมบุรีรัมย์“...เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศล้ำเมืองกีฬา...." #ประวัติผ้าไหม....
01/10/2022

ความงดงามของ #ผ้าไหมบุรีรัมย์

“...เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศล้ำเมืองกีฬา...."

#ประวัติผ้าไหม.....ไทย ผ้าไหมบุรีรัมย์ ของดี #จังหวัดบุรีรัมย์

• นาโพธิ์ • เจริญสุข • กระสัง • ห้วยราช •

ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อนการทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน)

ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์

ในปี พ.ศ. 2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ

ในอดีตการทอผ้าไหมของจังหวัดบุรีรัมย์ยังได้รับการส่งเสริมจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯส่งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุน มาให้คำแนะนำการทอผ้าไหม ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2449 เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จราชการมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลร้อยเอ็ด และตอนกลับได้ผ่านมาถึงเมือง พุทไธสง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2450 ได้พบนายโยโกตา และนายอิสิตา ชาวญี่ปุนซึ่งเดินทางมาตั้งโรงเลี้ยงไหมที่บุรีรัมย์ ได้เลือกทำเลที่เลี้ยง ที่เมืองพุทไธสง และหาที่พักได้ในบริเวณห้องสมุดประชาชนเดิม(ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนและสร้างเป็นโรงพยาบาลไปแล้ว)จุดที่ตั้งโรง เลี้ยงไหมก็คือบริเวณสวนหม่อนพุทไธสงในปัจจุบัน จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงในการทอผ้า ดังปรากฏ ในหลักฐานจาก รายงานการตรวจราชการ ของพระพรหมภิบาล(ในสมัยรัชกาลที่ 5)ซึ่งไปตรวจราชการที่มณฑลนครราชสีมา(เมืองบุรีรัมย์ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาในสมัยนั้น)ได้กล่าวถึงสภาพการทำมาหากินของชาวบุรีรัมย์ และการทอผ้าพื้นเมืองไว้ดังนี้"บ้านทะเมนชัย....แขวงเมืองบุรีรัมย์.....เรือนราษฏรมีอยู่ประมาณ 120 หลังคาเศษ ราษฏร 700 คนเศษ มีวัดสองวัด พระสงฆ์จำพรรษาอยู่วัดละ 9-10รูป ราษฏรเป็นลาว ประกอบอาชีพเพาะปลูก ทอหูกปั่นฝ้าย ทำไหม มะพร้าวเป็นพื้น... บ้านแขวงเมืองบุรีรัมย์..มีหลังคาเรือนอยู่ประมาณ 80 หลังเศษ ราษฏร 500 คนเศษเป็นเขมร ประกอบการเพาะปลูก ทอหูกปั่นฝ้าย ทำไหม มะพร้าวเป็นพื้น...บ้านทั้งหก(อยู่แขวงเมืองนางรอง)รวมหลังคาเรือนมีอยู่ประมาณ 230 หลังเศษราษฏร 800 คน พื้นดินเป็นดินปนทราย ต้นไม้มีมะพร้าว ขนุน ส้ม ต้นหม่อนเป็นพื้น เรือนเหล่านี้เสาไม้ เต็ง รัง ไม้ไผ่สับเป็นฟาก ฝากรุใบปรือ หลังคามุงหญ้าแฝก ราษฏรประกอบการเพาะปลูกทอหูก ปั่นฝ้าย ทำไหมขายรับพระราชทาน........จากข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีตมีการทอผ้าไหมโดยทั่วไป

ปัจจุบันการทอผ้าไหมมีอยู่ทั่วไปทุกอำเภอแต่แหล่งทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดคือที่อำเภอนาโพธิ์ โดยเฉพาะที่บ้านโคกกุง มีศูนย์พัฒนาผ้าไหมและกลุ่มแม่บ้านเลี้ยงไหมนอกจากนี้ยังมีที่บ้านมะเฟือง อำเภอพุทไธสง ซึ่งทอผ้าไหมด้วยกี่ธรรมดาหรือกี่ชาวบ้าน การทอผ้าไหมที่อำเภอพุทไธสงและอำเภอนาโพธิ์ จะมีการทอผ้ามัดหมี่ลายพื้นเมืองดั้งเดิมและแบบลายประยุกต์ โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ตีนแดง ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ทอหัวซิ่นเป็นพื้นสีแดงไม่มีลวดลายส่วนลายตัวซิ่นนิยมใช้ลายฟันเลื่อย ลายนาค เป็นต้น

บุรีรัมย์เป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหมมาเป็นเวลาช้านานแล้ว มีการทอทั่วทุกอำเภอ แหล่งทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดของจังหวัดบุรีรัมย์อยู่ที่อำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ โดยเฉพาะที่อำเภอนาโพธิ์จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการศิลปาชีพพิเศษ ด้านการออกแบบลวดลาย และการจัดจำหน่ายผ้าไหมของอำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ มักได้รับรางวัลจากการประกวดในที่ต่างๆ เป็นประจำ

#ผ้าไหมอำเภอนาโพธิ์ .....•

ผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์จะมีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์ คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด

จากการเล่าสืบกันมา ความแร้นแค้นเริ่มหมดไปเมื่อปี 2516 ความอัตคัด-ขัดสน ถึงพระเนตรพระกรรณ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ผ่านท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) กองเลขานุการในพระองค์ และท่านผู้หญิงจรุงจิต ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ และราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทำให้ผ้าไหมชาวบ้านนาโพธิ์ ได้ถูกส่งเข้าโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ

ศูนย์หัตกรรมพื้นบ้านนาโพธิ์ ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2542 จากการรวบรวมชาวบ้านที่มีฝีมือการทอผ้าไหมที่สวยงาม ชนะการประกวดผ้าไหมในระดับภาคและระดับประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสืบสานงานทอผ้าไหมไทย สนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

ป้าประคองเล่าว่า ในปี 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง บ้านนาโพธิ์ และมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้ผ้าไหมนาโพธิ์โดดเด่นมากยิ่งขึ้น

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านช่วยเราและชาวบ้าน นอกจากส่งผ้าที่ศูนย์ศิลปาชีพแล้ว เราได้ส่งผ้าไปขายที่ร้านภูฟ้าด้วย เรารู้ดีว่างานที่ส่งให้ร้านภูฟ้า ต้องเป็นงานที่เนี๊ยบ เราจึงปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการต่างๆ ก็เข้ามาช่วยเรื่องสีธรรมชาติและเรื่องอื่นๆ” ป้าประคองเล่าอย่างปลื้มใจ

ป้าประคองบอกแทนชาวบ้านนาโพธิ์ ว่า “ทำผ้าไหม ไม่รวย แต่ไม่มีหนี้ คนที่ทอผ้า จะมีรายได้ราว 3,000-5,000 บาท ต่อเดือน”

ทุกวันนี้ ผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ ซึ่งมีสมาชิกว่าพันราย มีแหล่งขายทั้งที่สวนจตุจักร มูลนิธิศิลปาชีพ ร้านภูฟ้า ร้าน OTOP ในพื้นที่ราชการ มีทั้งผ้าพันคอ ผ้าสไบ เสื้อ และผ้าผืน จึงทำให้ผ้าไหมของที่นี่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ผ่านการขายบนเครื่องบิน สายการบินไทย

ผ้าบ้านนาโพธิ์ มีจุดเด่นที่มาจากการทอมือ เนื้อแน่น เส้นใหญ่ ไม่มันวาว เส้นไหมละเอียด แม้ว่าเนื้อผ้าจะแน่น แต่เบาโปร่งสบาย มีทั้งลายพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น ลายพญานาค ลายช่องพลู ลายบันไดสวรรค์ และลวดลายสมัยใหม่ที่ประยุกต์ให้มีความร่วมสมัย

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ที่มีลายไม่เหมือนกันในแต่ละผืน เป็นลายที่มีผืนเดียวในโลก นอกจากนี้ยังมีผ้าไหมมัดหมี่ด้วย

#การเดินทาง

หมู่บ้านทอผ้าไหมอำเภอนาโพธิ์ อยู่ในบริเวณตลาด อ.นาโพธิ์ ในซอยหลังศูนย์สงเคราะห์ราษฎรบ้านนาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์
9 หมู่ 13 บ้านนาโพธิ์ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31230
ติดต่อ : นางประคอง ภาสะฐิต
โทร : 044 686157,686056, 01 9673849

#ผ้าซิ่นตีนแดง

ผ้าซิ่นตีนแดง หรือที่เรียกกันว่า “หมี่รวด” จะเป็นผ้าพื้นที่ย้อมสีแดงในส่วนของหัวซิ่นและตีนซิ่น ตัวซิ่นจะเป็นสีดำลวดลายมัดหมี่ที่มีสีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล มีสีเขียวปนบ้างเล็กน้อย ลวดลายที่ใช้ในการทอตัวซิ่นจะเป็นลายแข่วเลื่อย ลายนาค ลายขอแบบต่าง ๆ นิยมทอเป็นไหมลีบ (เส้นไหมจากเปลือกนอกของรังไหม) เพราะมีเส้นขนาดใหญ่ ทอเสร็จเร็ว เห็นลวดลายชัดเจน ลักษณะพิเศษของผ้าซิ่นหัวแดงตีนแดงจะมีการจกสีไหมเหมือนผ้าแพรวาเพิ่มเติมของส่วนตีนซิ่นสีแดง นิยมใช้ลายเก็บตีนดาว ผ้าซิ่นตีนแดง เป็นการค้นคิดของบรรพบุรุษของชาวอำเภอพุทไธสง นับเป็นมรดกตกทอดของชาวอำเภอพุทไธสงโดยแท้

#เอกลักษณ์ของซิ่นตีนแดง

ซิ่นตีนแดงแตกต่างจากซิ่นอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง คือ หัวซิ่นและตีนซิ่นเป็นสีแดง ตัวซิ่นเป็นสีดำ หมัดหมี่สีเหลือง แดง ขาว มีเขียวปนบ้าง เครือซิ่นด้านหัวและด้านตีนกว้างประมาณ 8 หลบ (1 หลบ เท่ากับ 40 เส้น) ลายที่ใช้เป็นลายเก่าดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย ลายขอต่าง ๆ นิยมทำด้วยไหมลีบ (ไหมเปลือกนอก) เพราะเส้นใหญ่ขึ้นลายได้สวยชัดเจน ทอเสร็จเร็ว ที่สำคัญ “เก็บตีนดาว” เพื่อประดิษฐ์ตกแต่งและแสดงฝีมือของผู้ผลิต

#ประเภทของผ้าซิ่นตีนแดง

ซิ่นตีนแดงทอออกมา 2 ประเภท โดยใช้ตีนซิ่น ( เชิง ) เป็นตัวแยกประเภท ดังนี้
– ซิ่นตีนแดงธรรมดา คือ ซิ่นตีนแดงที่ตกแต่งตีนซิ่นเป็นลายมัดหมี่ลายต่าง ๆ เช่น ตีนโยง ตีนต้น ตีนม้า หรือลายอื่น ๆ
– ซิ่นตีนแดงที่เก็บตีนดาว ( จกสีไหมเหมือนผ้าแพรวา ) คือ ซิ่นตีนแดงที่นอกจากจะตกแต่งลายที่ตีนซิ่นเป็นลายมัดหมี่แบบต่าง ๆ แล้ว ยังมีการใช้ไหมสีขาว สีเหลือง และสีเขียวตกแต่งเป็นลายประดับที่ตีนซิ่น เช่น ลายพั่วดอกฮั่ง (พวงดอกรัง ) หรือลายเอี้ยต่าง ๆ

#เอกลักษณะของผ้าซิ่นตีนแดง

ผ้าซิ่นตีนแดงเป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทอด้วยไหมทั้งผืนหัวซิ่นและตีนซิ่นของผ้าจะเป็นสีแดงสด ตอนกลางของผ้าจะเป็นลายมัดหมี่ เรียกว่าหมี่ขอ จะเป็นสีดำ สีน้ำตาลเหลือบทอง จะทอเป็นผืนเดียวกัน ไม่ใช้การตัดต่อระหว่างตัวซิ่น หัวซิ่นและตีนซิ่น สมัยโบราณจะทอให้เด็กและวัยรุ่นนุ่ง เพราะเป็นผ้าที่มีสีสดใสมาก โดยใช้ฟืมซาว (ฟืม 20) จะเป็นผืนเล็ก ๆ เหมาะสำหรับเด็ก ต่อมาได้ปรับปรุงการทอให้เป็นผ้าผืนใหญ่ กว้างและยาวขึ้น จึงใช้ฟืม 40 ในการทอ การทำซิ่นตีนแดงมีความยุ่งยากกว่ามัดหมี่ชนิดอื่น จึงไม่ค่อยนิยมทำกันและเกือบจะสูญหายไป แต่ได้มีการนำซิ่นชนิดนี้ ไปแสดงในงานนิทรรศการสมบัติอีสานใต้ ครั้งที่ 2 และทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้นำซิ่นชนิดนี้ไปใช้สำหรับนักแสดงนาฏศิลป์ เพื่อประชาสัมพันธ์ทั้งในจังหวัดต่างจังหวัด และต่างประเทศ เช่น ชุดการแสดง “ระบำเทพอัปสร” และได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผ้าซิ่นตีนแดงลงในหนังสือหลายเล่ม เช่น อนุสรณ์ 200 ปีเมืองพุทไธสง, สมบัติอีสานใต้ 6, หนังสือพิมพ์สื่อสารธุรกิจ และหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาไทย จ.บุรีรัมย์ นอกจากนั้นมีการร่วมรณรงค์ให้หันมาผลิตและใช้แต่งกายในงานประเพณีสำคัญ เช่น บุญบั้งไฟ งานสงกรานต์

ลอยกระทงและกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ซิ่นตีนแดงจึงกลับเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป กลายเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวพุทไธสงและนาโพธิ์ ทุกครัวเรือนจะต้องมีไว้ประจำบ้าน จึงทำให้ซิ่นตีนแดงกลับมาเป็นที่นิยมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างงดงาม และในปี พ.ศ. 2546 ผ้าซิ่นตีนแดงได้กลายเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำ จ. บุรีรัมย์

ปัจจุบันการทอผ้าไหมมีอยู่ทั่วไปทุกอำเภอ แต่แหล่งทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด คือ ที่ อ. นาโพธิ์ โดยเฉพาะที่บ้านโคกกุง มีศูนย์พัฒนาผ้าไหมและกลุ่มแม่บ้านเลี้ยงไหมนอกจากนี้ยังมีที่บ้านมะเฟือง อ. พุทไธสง ซึ่งทอผ้าไหมด้วยกี่ธรรมดาหรือกี่ชาวบ้าน การทอผ้าไหมที่ อ. พุทไธสง และ อ.นาโพธิ์ จะมีการทอผ้ามัดหมี่ลายพื้นเมืองดั้งเดิมและแบบลายประยุกต์ โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ตีนแดง ซึ่งเป็นผ้าไหมมัดหมี่ทอหัวซิ่นเป็นพื้นสีแดงไม่มีลวดลายส่วนลายตัวซิ่นนิยมใช้ลายฟันเลื่อย ลายนาค เป็นต้น

#ประวัติผ้าซิ่นตีนแดง

“ซิ่นหัวแดงตีนแดง” หรือ “ซิ่นตีนแดง” หรือ “ซิ่นหมี่รวด” ได้ทอขึ้นครั้งแรกโดยช่างฝีมือทอผ้าในคุ้มของพระยาเสนาสงคราม (เจ้าเมืองคนแรกของอำเภอพุทไธสง) แถวบ้านหนองหัวแฮดและในบ้านโนนหมากเฟือง เมืองพุทไธสง เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว (ปัจจุบัน คือ บ้านศรีษะแรตและบ้านมะเฟือง ในปัจจุบัน) เป็นผ้าซิ่นที่กลุ่มคนเชื้อสายลาวเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ผ้าซิ่นตีนแดงจึงเป็นผ้าซิ่นลาว (เคยมีการสันนิษฐานว่าเป็นผ้าซิ่นเขมร) จากหลักฐานตำนานพระเจ้าใหญ่และการก่อตั้งหมู่บ้านศีรษะแรตว่า “ในสมัยก่อน ท้าวศรีปาก ( นา ) ท้าวเหลือสะท้าน ท้าวไกรสร เสนาบดีเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขต จ. มหาสารคาม) ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายลาว พร้อมด้วยบริวาร ชอบเข้ามาล่าสัตว์ในเขตลุ่มน้ำลำพงชู ตลอดไปจนถึงลุ่มน้ำชี (ในเขต จ. ชัยภูมิ) กล่าวกันว่า การล่าแรดเพื่อนำนอมาทำยานั้น ถ้าพบแรดในเขตพุทไธสงจะไล่ล่าได้ในเขตชัยภูมิ และถ้าพบในเขตชัยภูมิจะไล่ล่าได้ในเขตพุทไธสง ครั้งหนึ่งทั้งสามได้ยิงได้นกขนาดใหญ่สวยงามมากตัวหนึ่งที่บริเวณบึงสระบัว เรียกกันว่า “นกหงส์” นกตัวนั้นบินมาตกบริเวณป่ารกด้านทิศตะวันออก จึงออกตามหานกตัวนั้นในป่าดังกล่าว แต่กลับพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อน ด้วยความดีใจจึงเลิกค้นหานกและพากันสำรวจบริเวณรอบ ๆ องค์พระ พบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมด้านหลังพระพุทธรูป พบหนองน้ำขนาดย่อมด้านหน้าองค์พระ มีหัวแรดตายมานานแล้วอยู่ในหนองน้ำนั้น มีต้นตาลเรียงรายอยู่รอบ ๆ ทั้งสี่ทิศ มีเถาวัลย์คลุมรุงรัง ไม่มีหมู่บ้านคนในบริเวณนั้น จึงกลับไปบ้านเกิดและชักชวนญาติพี่น้องมาตั้งรกรากที่นี่แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “หนองหัวแฮด” ตามหัวแรดที่พบ โดยมีท้าวศรีปาก ( นา ) เป็นเจ้าเมือง เรียกว่า “อุปฮาดราชวงศ์” และได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณที่ได้พบพระพุทธรูปอยู่เป็นวัด ชื่อว่า “วัดหงส์” ตามชื่อนกที่ยิงแล้วมาตกบริเวณนั้นองค์พระเจ้าใหญ่ สันนิฐานว่าสร้างพร้อมกับเมืองพุทไธสง คือ ประมาณ พ.ศ. 2200 ช่างที่สร้างพระเจ้าใหญ่อาจเป็นช่างสกุลลาว เพราะพระพุทธรูปหลายองค์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอัญเชิญมามีพระเกศเหมือนพระเจ้าใหญ่ เช่น ที่วัดสระปทุม พระเกศลักษณะนี้มีเฉพาะในภาคอีสานและประเทศลาวเท่านั้น” จากหลักฐานดังกล่าวจึงน่าจะเชื่อได้ว่า ผ้าซิ่นตีนแดงนั้นเป็นผ้าซิ่นของกลุ่มชนลาวไม่ใช่เขมร ต่อมาได้แพร่ขยายการทอผ้าซิ่นตีนแดงจากบ้านศีรษะแรตและบ้านมะเฟืองไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง คือ บ้านจาน บ้านแวง และบ้านนาโพธิ์ (ปัจจุบันเป็น อ. นาโพธิ์ แยกออกจาก อ. พุทไธสง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531) ซิ่นตีนแดง หรือ ซิ่นหมี่รวด เป็นผ้าเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาว อ. พุทไธสง และ อ.นาโพธิ์ ไม่มีในท้องถิ่นอื่น

#สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านนาโพธิ์

ที่ตั้ง: ภายในที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ ม. 13 ต. นาโพธิ์ อ. นาโพธิ์ จ. บุรีรัมย์ 31230
โทรศัพท์: 08 1977 2419 คุณชุติกาญจน์ บุญงาม
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ถนนนิวาศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000
โทร/โทรสาร 044-620171 E-mail : [email protected]

#ผ้าไหมบ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช....•

หมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เดิมพื้นที่บริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นผืนป่าทึบที่มีต้นสนวนขึ้นอยู่จึงได้ชื่อว่าบ้านสนวน บ้านสนวนนอกเป็นชุมชนโบราณที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ใช้ภาษาพื้นถิ่นเขมร และสืบสานการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ้าไหมลายดั้งเดิมที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ คือ ผ้าไหมหางกระรอกซึ่งถือเป็นลายเอกลักษณ์ของผ้าไหมบ้านสนวนนอก

วิถีชีวิตผลิตไหมของชาวสนวนนอก เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อน เก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหม การเลี้ยงไหมสาวไหม ไปจนถึงการฟอก ย้อม มัดหมี่ ทอผ้า และแปรรูป ซึ่งหากนักท่องเที่ยวสนใจต้องการศึกษาเรียนรู้อย่างละเอียด ทางชุมชนก็มีมัคคุเทศก์ของหมู่บ้านพาชมทุกชั้นตอนของทุกกระบวนการ นับแต่ปลูกชำต้นหม่อน เก็บใบหม่อน การเลี้ยงไหม ให้อาหารตัวไหม สาวไหมจากดักแด้ ฟอกกาวไหมออกจากเส้นไหม การเตรียมเส้นไหมเพื่อมัดหมี่การย้อมสีธรรมชาติ เรียนรู้การมัดหมี่ การทอผ้าไหม กระทั่งถึงการสร้างสรรค์ ลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าไหม
การเดินทาง : รถยนต์จากตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้เส้นทางถนนหลวงสายห้วยราช – กระสัง มุ่งสู่อำเภอห้วยราช ประมาณ 12 กิโลเมตร บ้านสนวนนอก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยราช ประมาณ 2 กิโลเมตร

#ผ้าหางกระรอก บ้านสนวนนอก จ. บุรีรัมย์

ผ้าหางกระรอก มีประวัติความเป็นมาเริ่มจากคนโบราณรู้จักการเลี้ยงไหมและการทอผ้า จนต่อมาได้พัฒนาเทคนิคการทอต่าง ๆ เช่น การควบเส้น (การนำไหม 2 สี มาสาวรวมกันเป็นเส้นเดียว) ต่อมาชุมชนบ้านสนวนนอก ซึ่งสมัยนั้นมีต้นสนวนขึ้นเยอะมาก มักเป็นที่อาศัยของกระรอก และด้วยนิสัยความช่างสังเกตของคนโบราณ สังเกตเห็นว่า ลายของหางกระรอกนั้นคล้ายกับไหมที่ถูกควบเส้นแล้ว จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผ้าหางกระรอก” นับตั้งแต่บัดนั้น

#ลักษณะของผ้าหางกระรอก

ผ้าหางกระรอก เป็นชื่อเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีลักษณะของลวดลายเนื้อผ้าเหลือบสีเห็นเป็นลายเส้นเล็ก ๆ ในตัวมองดูคล้ายกับขนของหางกระรอก แลดูสวยงาม แปลกตา ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าไท คือ การควบเส้น ตามความเชื่อในเรื่องของความกลมเกลียวสามัคคีกันในครอบครัวและสายตระกูลที่นับถือผีด้วยกัน การนำไหมสองสีมาควบกันนี้เรียกว่า “ผ้าหางกระรอก” หรือ ““กะนีว” ซึ่งวิธีการทอแบบนี้มักพบแต่ในแถบอีสานใต้ และนิยมใช้เพียงสีเขียวควบเหลือง หรือแดงควบเหลือง

ข้อดีของผ้าหางกระรอก เมื่อนำ ผ้าหางกระรอก มาใช้เป็นเส้นพุ่งทอกับเส้นยืน สีพื้นที่ต่างกันจะทำให้เกิดลวดลายเหลื่อมกัน ให้ความสวยงามที่ได้จากคู่สีที่ตัดกัน ลักษณะของผ้าหางกระรอกนี้ ผิวสัมผัสจะมีความมันระยิบระยับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ถ้านำไปส่องกับแดดจะยิ่งเห็นความเงางามมากขึ้น และสมารถแยกสีได้อย่างชัดเจน ส่วนเนื้อผ้าที่ได้จะมีความแน่นเกิดจากไหมที่เป็นเส้นคู่

เหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย ดู ๆ ไปแล้ว ผ้าหางกระรอกก็คือ การใช้ไหม 2 เส้น 2 สี มาสาวรวมกัน แต่ถ้าได้ลองทำจริง ๆ จะรู้เลยว่าไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะผ้าหางกระรอกที่สวยงามต้องใช้คนสาวไหมที่มีความชำนาญ จนสามารถกำหนดว่าอยากจะได้เกลียวถี่หรือเกลียวห่างตามต้องการ เพราะหากทำไม่ดีก็จะขึ้นลายไม่เท่ากัน ดังนั้นทั้งเส้นจะต้องมีความสม่ำเสมอตลอด ไม่เช่นนั้นเวลานำไปทอจะขึ้นลายสลับไปมาไม่เกิดความสวยงาม และเวลานำไปทอก็ต้องเลือกหลอดให้ดี สีต้องสม่ำเสมอเท่ากันทุกหลอด ไม่เป็นขุยเป็นก้อนการประยุกต์ผ้าหางกระรอก

#สอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ตั้ง : บ้านสนวนนอก ม. 2 ต. สนวน อ. ห้วยราช จ. บุรีรัมย์
ผู้ใหญ่บ้านบุญทิพย์ โทร. 08 5411 4435 หรือ คุณสำเริง โทร. 08 0472 4435
และสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน จ. บุรีรัมย์ ได้ที่ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ (ดูแลบุรีรัมย์) โทร. 04 4634 4722-3

#ผ้าภูอัคนี หรือ ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ #บ้านเจริญสุข......•

ผ้าภูอัคนี หรือ ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านหมู่บ้านเจริญสุข ที่ได้นำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมไปย้อมกับดินภูเขาไฟ วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการย้อมสีผ้าให้ออกมามีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์ เพราะหมู่บ้านเจริญสุขนั้นตั้งอยู่ใกล้กับ “เขาพระอังคาร” ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่ดับแล้ว 1 ใน 6 ลูก ของ จ. บุรีรัมย์ ดินบริเวณนี้เป็นดินที่อุดมด้วยแร่ธาตุจากลาวาภูเขาไฟที่ปะทุออกมาในอดีต ซึ่งนอกจากเป็นประโยชน์ในการเพาะปลูกแล้ว ชาวบ้านเจริญสุขยังคิดค้นวิธีการนำดินเหล่านี้มาใช้ย้อมผ้าอีกด้วย

ขั้นตอนการผลิต สมาชิกกลุ่มทอผ้าฝ้ายผ้าไหม หมู่บ้านเจริญสุข ได้อธิบายให้ฟังว่า “ขั้นตอนการย้อมนั้นไม่ยากอะไรเลย เริ่มต้นจากการนำดินภูเขาไฟใกล้ ๆ กับเขาพระอังคารมาคัดเศษผงที่เจือปนออก หลักจากนั้นก็นำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน ดินภูเขาไฟ 3 กิโลกรัม ต่อ น้ำเปล่า 10 ลิตร ก็จะได้น้ำดินภูเขาไฟที่มีสีน้ำตาล สำหรับขั้นตอนนี้ หากอยากได้ผ้าสีเข้มก็ผสมน้ำให้น้อยลง หากอยากได้สีอ่อนก็ผสมน้ำให้มากขึ้น”

ขั้นตอนต่อไป คือ ขั้นตอนการย้อมสีผ้า โดยจะนำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมที่ต้องการย้อมสี ซึ่งจะใช้ผ้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในการย้อมแต่ละครั้ง ลงไปแช่ในน้ำดินภูเขาไฟที่เตรียมไว้ โดยจะใช้เวลาในการแช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง ก็จะได้ผ้าสีน้ำตาลเย็นตา สีสันสวยงามตามที่ต้องการ หลักจากนั้นก็จะนำผ้าที่ได้ไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปตากที่ราวและยืดให้ตรง

นอกจากนี้ หมู่บ้านเจริญสุขแห่งนี้ยังมีภูมิปัญญาที่จะรักษาสีผ้าให้คงทนด้วยเช่นกัน นั้น คือ การนำผ้าที่ได้จากการย้อมดินภูเขาไฟไปต้มกับ “น้ำเปลือกต้นประดู่” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านในการนำวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำเปลือกต้นประดู่มาต้มในน้ำ ซึ่งน้ำต้มจะต้องร้อน แต่ไม่ให้เดือดจนเกินไป หลังจากนั้นนำผ้าที่ผ่านการย้อมดินภูเขาไฟลงไปแช่ประมาณครึ่งชั่วโมง ขั้นตอนนี้จะเป็นการป้องกันการตกสี และในน้ำเปลือกต้นประดู่ ยังมียางแ ละสีที่คล้ายกับสีดินภูเขาไฟ จึงเป็นการเคลือบสีไปในตัว ผ้าที่ได้ จึงเงางามยิ่งขึ้นและไม่ตกสี

การทำผ้าภูอัคนี นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่ามหัศจรรย์ ที่นำดินธรรมดา ๆ มาสร้างสรรค์ให้กลายมาเป็นสีสันที่งดงามมีเอกลักษณ์ จนเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของ จ. บุรีรัมย์ และยังได้ผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่า มีแห่งเดียวในจังหวัดบุรีรัมย์ และได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OVC หรือ OTOP Village Champion ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อีกด้วย

โดยทางกลุ่มสตรีทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย ในหมู่บ้านเจริญสุขได้มีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ เหมาะสำหรับนำไปใช้และเป็นของฝาก และยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชม ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชุมชน เพื่อทำความรู้จักกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เด่นประจำท้องถิ่นในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ที่ควรค่าแก่การรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

แหล่งผลิต: กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าฝ้าย – ไหม (ภูอัคนี)
ที่ตั้ง: 143 หมู่ 12 ต.เจริญสุข อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. บุรีรัมย์ 31110
เวลาเปิด-ปิด: 09.00-17:00 น. ทุกวัน
โทรศัพท์: 09 7007 4244
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ถนนนิวาศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000
โทร/โทรสาร 044-620171 E-mail : [email protected]

#กลุ่มทอผ้าสมาชิกโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอกระสัง

บ้านเลขที่ 153 หมู่ที่ 11 บ้านหนองพลวง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 31160
ติดต่อ : นางสุกัญญา ชาตาสุ โทร : 08-7927-2534

#สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
• ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 0 4463 4722-3
• สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ 044-666531
• สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ 044-666528

หรือ #สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์.....:
ที่อยู่ : ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ 1159 เขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 โทรศัพท์: 044 666 563 โทรสาร : 044 666 563

#บุรีรัมย์ #เมืองกีฬา #เมืองน่าเที่ยว #เที่ยวบุรีรัมย์

ขอบคุณข้อมูล : จากทุกแหล่งที่มา & ไทยเท่

Address


Telephone

+66656232823

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ผลิตภัณฑ์ชุมชนคนบุรีรัมย์-Buriram Community Product posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Convenience Store?

Share